คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กองทุนสิ่งแวดล้อม


………กองทุนสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ เพื่อสนับสนุน องค์กรหรือหน่วยงานทั้งในรูปเงินกู้ และเงินอุดหนุน ในระยะที่ผ่านมา กองทุนสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการจัดสรรเงินกองทุนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้เงินกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงการบริหารงานกองทุนสิ่งแวดล้อม และการวางแผนการดำเนินงานในอนาคต 

………ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กองทุนสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางการบริหารงานกองทุนสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องจัดทำคู่มือแผนยุทธศาสตร์กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บุคลากรที่หมุนเวียนกันมาปฏิบัติงานได้เกิดการเรียนรู้และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยคู่มือดังกล่าวมีเนื้อหาประกอบด้วย การทบทวนแผนยุทธศาสตร์ทั้งในระดับชาติ กระทรวงและกรม ทบทวนปัญหาอุปสรรคการบริหารงานกองทุนที่ผ่านมา วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร การรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การกำหนดเป้าประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ ประมาณการใช้จ่ายเงินกองทุนในระยะ ๓-๕ ปี ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดสรรเงินกองทุนมีความสมดุลทั้งรายรับ รายจ่าย และเป็นทันหมุนเวียนที่มีความยั่งยืน 

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อให้สามารถจัดทำแผนและยุทธศาสตร์กองทุนสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง 
  2. เพื่อให้การกำหนดแผนและยุทธศาสตร์ได้รับการยอมรับโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาพส่วน 
  3. สามารถนำไปใช้เป็นกรอบในการบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

นำแผนไปสู่การปฏิบัติ และประเมินผล
นำเสนอคณะกรรมการ กองทุนสิ่งแวดล้อม
ร่างและปรับปรุงแผน
รับฟังความคิดเห็นจาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูล

นำแผนไปสู่การปฏิบัติ และประเมินผล

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากการนำแผนไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  • เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามแผน
  • เพื่อรวบรวมผลการดำเนินงานและนำไปทบทวนปรับปรุงแผนในระยะต่อไป

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • มีการประชาสัมพันธ์สื่อสาร ถ่ายทอดให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
  • ใช้เครื่องมือการติดตามประเมินผลที่เหมาะสม เช่น CIPP Model, PDCA

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เช่น จดหมาย/Website/ การจัดประชุมสัมมนา/ E-mail ฯลฯ
  • ประเมินผล
  • แบบสอบถาม
  • CIPP Model, PDCA, SPSS

วิธีการติดตามผลภายหลัง

  • รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผน

นำเสนอคณะกรรมการ กองทุนสิ่งแวดล้อม

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ในการกำหนดนโยบายให้ครบถ้วน และครอบคลุมทุกมิติ ·
  • เพื่อให้แผนได้รับความเชื่อถือและการยอมรับเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • นำเสนอประเด็นให้กระชับ ชัดเจน สามารถตัดสินใจได้ง่าย
  • มีระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอย่างเพียงพอ

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • เทคนิคการเขียนวาระการประชุมและการนำเสนอ Power Point อย่างมืออาชีพ
  • เทคนิคการสื่อสาร

วิธีการติดตามผลภายหลัง

  • ดูจากมติคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม

ร่างและปรับปรุงแผน

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อนำข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากำหนดวิธีการในการจัดทำแผนงาน/โครงการและงบประมาณ
  • กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดที่เหมาะสม
  • กำหนดวิธีการติดตามและทบทวนแผน

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • เพื่อนำข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากำหนดวิธีการในการจัดทำแผนงาน/โครงการและงบประมาณ
  • กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดที่เหมาะสม
  • กำหนดวิธีการติดตามและทบทวนแผน

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • เทคนิคการจัดทำแผน
  • คอมพิวเตอร์
  • อุปกรณ์บันทึกข้อมูล

วิธีการติดตามผลภายหลัง

  • เอกสารร่างรายงาน

รับฟังความคิดเห็นจาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ+ปัญหาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
  • เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • เลือก Stakeholder ที่เหมาะสม มีรูปแบบการจัด Focus groups ที่ดี
  • เลือกผู้ร่วมดำเนินการ
  • การดำเนินการจัดประชุม/Moderator/ Facilitator
  • เน้นเทคนิคการดึงความเห็นที่ดี

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • แบบสอบถาม
  • การจัดประชุมสัมมนา
  • เทคนิคการจับประเด็น
  • กระดาษ/ปากกา/ โพสต์อิท
  • อุปกรณ์เพื่อการนำเสนอ/การบันทึกเทป

วิธีการติดตามผลภายหลัง

  • ข้อมูลจาก Focus group ทั้งหมดครบถ้วน

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูล

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบและแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
  • วิธีการจัดการและแนวทางการแก้ไขปัญหา
  • เพื่อพิจารณาคัดเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • คัดเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม
  • การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ของกองทุน

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • เครื่องคิดเลข
  • คอมพิวเตอร์
  • SWOT
  • PESTEL
  • TOWS
  • โครงสร้างอำนาจหน้าที่ของกองทุน
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

วิธีการติดตามผลภายหลัง

  • จากรายงานการสรุปผลการวิเคราะห์

ข้อควรพึงระวัง

ต้องดำเนินการโดยยึดระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องและให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม