คู่มือการปฏิบัติงาน  : กระบวนการการตอบข้อหารือและการให้ความเห็นทางวิชาการด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

บทนำ

การตอบข้อหารือ การให้ความเห็นทางวิชาการด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) เป็นกระบวนการที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้อสงสัย ข้อห่วงกังวล จากการดำเนินโครงการต่างๆ ที่อาจเข้าข่ายโครงการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA ซึ่งปัจจุบันได้มีการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA จำนวน 35 ประเภท และโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง (Environmental Health Impact Assessment: EHIA) จำนวน 12 ประเภท รวมทั้งข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ ความเห็นทางวิชาการด้านระบบ EIA ที่หน่วยงานอื่นๆ ขอความอนุเคราะห์ อาจนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้ กระบวนการตอบข้อหารือ การให้ความเห็นทางวิชาการด้าน EIA อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ กองพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (กพส.) มีกระบวนการที่มีวิธีการ ระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เป็นกิจลักษณะและเป็นระบบ เพื่อให้ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้รับทราบข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นทางวิชาการ สำหรับเป็นข้อมูลในการดำเนินงานด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การกลั่นกรองโครงการ (Screening) เบื้องต้น และการให้ความเห็นทางวิชาการต่อการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระบวนการดังกล่าวจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคคลภายนอก (หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน และประชาชนทั่วไป) ได้รับข้อมูล ข้อกฎหมาย ระเบียบที่ถูกต้องและชัดเจน กพส. จึงได้จัดทำคู่มือฉบับนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรและสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้การตอบข้อหารือ การให้ความเห็นทางวิชาการด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีระบบและมีมาตรฐานเดียวกัน
  2. เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการทำงานของบุคลากรใหม่และนำไปสู่การเป็นมืออาชีพ
  3. เพื่อสร้างความมั่นใจต่อการดำเนินการการตอบข้อหารือ การให้ความเห็นทางวิชาการ มีความถูกต้องและชัดเจนตามหลักวิชาการ และผู้ขอหารือ หรือผู้รับบริการ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA และระบบ EIA

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1.วิเคราะห์ กลั่นกรอง ทำความเข้าใจกับรายละเอียดโครงการ
2.ประสานกับหน่วยงานภายใน สผ. ที่เกี่ยวข้อง
3.รวบรวมข้อมูลจากการประสานกับหน่วยงานภายใน สผ. และความเห็นจากการศึกษารายละเอียดโครงการ
4.จัดทำเอกสารสรุป และความเห็นทางวิชาการ
5.แจ้งความเห็นทางวิชาการให้กับผู้ขอหารือ/ผู้ขอข้อมูล

1.วิเคราะห์ กลั่นกรอง ทำความเข้าใจกับรายละเอียดโครงการ

เหตุผลในการปฏิบัติ

– เพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์และกลั่นกรองโครงการ (Screening) ในเบื้องต้นว่า เป็นโครงการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน EIA หรือไม่ อย่างไร

– เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้ประกอบการให้ความเห็นทางวิชาการได้อย่างเหมาะสม

– เพื่อตรวจสอบข้อมูลโครงการจากฐานข้อมูลรายงาน EIA ที่ได้รับความเห็นชอบ (SMART EIA) หรือฐานข้อมูลรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการฯ ในกรณีที่เป็นโครงการที่ขอขยาย หรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ

 

เทคนิคในการปฏิบัติ

– ศึกษาและทำความเข้าใจประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้ง การสืบค้นข้อมูลโครงการจากฐานข้อมูล “SMART EIA”

– ศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการ

– ศึกษาจากข้อกฎหมายเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับโครงการประเภทต่างๆสอบถาม เรียนรู้ จากผู้มีประสบการณ์

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– ประเภทและขนาดตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ภาคผนวก 1)

– มติคณะรัฐมนตรี (ภาคผนวก 2)

– ฐานข้อมูลรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม “SMART EIA”

– ข้อมูลรายละเอียดโครงการ (เรียนรู้ด้วยตัวเอง)

– ความรู้จากผู้มีประสบการณ์

– ทักษะในการตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดโครงการ

– ความรู้เฉพาะด้านของประเภทโครงการ

 

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

1 วัน**

 

วิธีการติดตามผลภายหลัง

– การสอบทานความเข้าใจจากหัวหน้างาน และ ผอ.กพส.

– การสรุปรายละเอียดโครงการ และข้อมูลที่ต้องการขอความเห็นเพิ่มเติมได้อย่างถูกต้อง

2.ประสานกับหน่วยงานภายใน สผ. ที่เกี่ยวข้อง

เหตุผลในการปฏิบัติ

– เพื่อให้ได้ข้อมูลทางเทคนิค และความเห็นทางวิชาการเพิ่มเติมจากหน่วยงานภายใน สผ. อย่างถูกต้องและชัดเจน

– เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ และที่ตั้งโครงการ

– เพื่อตรวจสอบความเป็นมาของโครงการเพิ่มเติม (กรณีที่เป็นโครงการที่ขอขยาย หรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ)

 

เทคนิคในการปฏิบัติ

– ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงานต่างๆ ภายใน สผ.

– การติดต่อประสานงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลทางเทคนิคเฉพาะด้าน

– การใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ในการตรวจสอบที่ตั้งโครงการ

 

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– ภารกิจของหน่วยงานภายใน สผ.

– กฎหมายที่เกี่ยวข้องรายประเภทโครงการ และรายพื้นที่

– ข้อมูลพิกัดโครงการและระบบภูมิสารสนเทศ (Geographic Information System: GIS)

 

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

3-5 วัน**

 

วิธีการติดตามผลภายหลัง

การจัดทำหนังสือขอความเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมความเห็นจากกลุ่มงาน

 

3.รวบรวมข้อมูลจากการประสานกับหน่วยงานภายใน สผ. และความเห็นจากการศึกษารายละเอียดโครงการ

เหตุผลในการปฏิบัติ

– เพื่อรวบรวมประเด็นที่ขอความเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานภายใน สผ. พร้อมตรวจสอบประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน หรือ ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์

– เพื่อประมวลและพิจารณากลั่นกรองขั้นสุดท้ายก่อนจัดทำเป็นหนังสือแจ้ง

 

เทคนิคในการปฏิบัติ

การตรวจสอบข้อมูลจากการประสานงาน ให้ครบถ้วน และชัดเจน

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– ความรู้เฉพาะด้านของประเภทโครงการ

– กฎหมายที่เกี่ยวข้องเฉพาะประเภทโครงการ และเฉพาะพื้นที่

– ประเภทและขนาดตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ภาคผนวก 1)

– ประกาศกระทรวง เรื่องการกำหนดประเภท และขนาด ในอดีต

– มติคณะรัฐมนตรี (ภาคผนวก 2)

 

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

3-5 วัน**

 

วิธีการติดตามผลภายหลัง

ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของกลุ่มงาน และหน่วยงานภายใน สผ. ครบถ้วน และชัดเจน

 

4.จัดทำเอกสารสรุป และความเห็นทางวิชาการ

เหตุผลในการปฏิบัติ

เพื่อสรุปรายละเอียดโครงการ ประเด็นที่ขอหารือ และความเห็นทางวิชาการ เพื่อเสนอผู้บริหารพิจารณา

 

เทคนิคในการปฏิบัติ

– การเรียบเรียงนำเสนอความเห็นทางวิชาการ อย่างเป็นระบบ

– การใช้ภาษาเขียน ถูกต้อง และมีความชัดเจน

 

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– การสรุปประเด็นที่ขอหารือ ความเห็นทางวิชาการ ได้อย่างชัดเจน และเข้าใจง่าย

– ทักษะในการเขียนหนังสือราชการ

 

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

3 วัน**

 

วิธีการติดตามผลภายหลัง

หนังสือสรุปความเห็นแจ้งผู้ขอหารือ/ขอรับบริการ ได้รับการลงนามจากผู้บริหาร สผ.

 

5.แจ้งความเห็นทางวิชาการให้กับผู้ขอหารือ/ผู้ขอข้อมูล

เหตุผลในการปฏิบัติ

เพื่อนำประเด็นที่ขอหารือ /ความเห็นทางวิชาการ แจ้งให้ผู้ขอหารือ/ผู้ขอข้อมูล อย่างเป็นทางการ

 

เทคนิคในการปฏิบัติ

 

– 

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

 

– 

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

1 วัน**

 

วิธีการติดตามผลภายหลัง

ผู้ขอหารือ/ผู้ขอข้อมูลได้รับความเห็นและประเด็นที่ขอหารือ อย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการต่อไป

 

 

หมายเหตุ :

 *เนื่องจากการหารือ หรือให้ความเห็นทางวิชาการจะต้องได้ข้อมูลที่ชัดเจน และถูกต้อง จึงไม่ได้มีการกำหนดเวลาไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม กพส. จะดำเนินการแจ้งความเห็นทางวิชาการให้กับผู้ขอหารือ/ผู้ขอข้อมูล โดยเร็วที่สุด ให้เป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 

**วันที่กำหนดสามารถยืดหนุ่นได้ตามความเหมาะสม 

ไฟล์และสื่อประกอบ

ภาพ/ภาพเคลื่อนไหว/ไฟล์เสียง File : การแปลเอกสารวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม

Comments are closed.