การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ภายใต้กรอบอาเซียน ปี พ.ศ.2563

1. การเข้าร่วมการประชุมผ่านระบบทางไกล ได้แก่

  • การประชุมคณะทำงานอาเชียนด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 30 (30th AWGNCB) เมื่อวันที่ 21 – 22 ตุลาคม 2563
  • การประชุมคณะกรรมการบริหรศูนย์อาเชียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 22 (22nd GB ACB) เมื่อวันที่ 17 – 18 พฤศจิกายน 2563 
  • การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเชียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 31 (31th ASOEN) เมื่อวันที่ 24 – 27 พฤศจิกายน 2563

 

2. เสนอพื้นที่อนุรักษ์เป็นอุทยานมรดกอาเชียน 2 แห่ง ได้แก่

  • อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย
  • อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทั้งนี อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวงฯ อยู่ระหว่างหารือประเด็นเขตแดนระหว่างเมียนมาและไทย การประชุม 31 ASOEN จึงเห็นชอบให้เสนออุทยานแห่งชาติเขาสกฯ ต่อรัฐมนตรีอาเชียนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่ออนุมัติป็นอหยานมรดกอาเซียนลำดับที่ 50

 

3. การบูรณาการความหลากหลายกางชีวภาพเข้าสู่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ไทยในฐานะประเทศผู้นำการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่ภาคการเกษตรกำหนดจัด “การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพกับภาคการเกษตรของประเทศไทย” เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 ณ กรุงเทพมหานคร

และปี พ.ศ. 2564 สผ. ได้รับ งบประมาณดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดีและตัวชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพในภาดการเกษตร โดยจะนำเสนอแผนการเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการฯ ในเวทีอาเชียน ในปี พ.ศ. 2565

 

4. โครงการ Improving Biodiversity Conservation of Wetlands and Migratory Waterbirds in the ASEAN Region – Phase II (JAIF)

ไทยเสนอพื้นที่เตรียมขึ้นทะเบียนบ็นเครือข่ายนกอพยพ 2 แห่ง ได้แก่

  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอางเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างก็บน้ำห้วยตลาด-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยสนามบิน จังหวัดบุรีรัมย์
  • ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินีจังหวัดสมุทรปราการ

 

5. โครงการความร่วมมือระหว่างอาเชียนกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการพื้นที่คุ้มครองในอาเชียน (พ.ศ. 2560-2565) 

 

ขยายระยะเวลาดำเนินการอีก 1 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากเดิมซึ่งจะสิ้นสุด
ในปี พ.ศ. 2565 ไปสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2566 โดยอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อการขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการดังกล่าว

 

6. การยกร่างแถลงการณ์ร่วมอาเชียนสำหรับการประชุมสมัชชาภาคือนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15  (ASEAN Joint Statement to the CBD COP 15)

ที่ประชุม 30t AWGNCB และ 22nd GB ACB  เห็นชอบให้รวมเนื้อหาร่างมติกัวลาลัมเปอร์ ว่าด้วยกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก หลังปี ค.ศ. 2020 ในร่างแถลงการณ์ฯ 

 

7. การทบทวนโครงสร้างองค์กรของ ASEAN CENTRE  FOR BIODIVERSITY


การประชุม 20th GB ACB มีมติให้ทบทวนโครงสร้างของศูนย์อาเซียนฯ เพื่อขยายการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้ครอบคลุมทั้งทางบกและทางทะเลสอดคล้องกับร่างยุทธศาสตร์อาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ค.ศ. 2016-2025 โดยการประชุม 22nd GB ACB เห็นว่าสามารถขยายการดำเนินงานได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขความตกลงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนฯ และขอให้พิจารณาความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเสนอวิธีการระดมทรัพยากรทางการเงิน

 

    1. pongsatorn

      22 January, 2021

      สุดยอดครับ ทำอ่านง่ายมากๆ เลย

    แสดงความคิดเห็น

    กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น