ชื่อองค์ความรู้  : การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : ๒๘ – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล : นางปริย ริมวานิช
กลุ่มงาน : เลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
กอง :

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

โทรศัพท์ : 02-265-6780
E-mail : thekeng_k@yahoo.com

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

เพื่อให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

Key Words ขององค์ความรู้

กฎหมายสิ่งแวดล้อม

สาระสำคัญขององค์ความรู้

– โครงสร้างกฎหมายสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย กฏหมายมหาชน (รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ /กฎหมายปกครอง/ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕  และ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้น) และกฎหมายเอกชน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์)

– รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมหลายประการ ตั้งแต่การรับรองสิทธิของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นในการจัดการ การดูแลรักษา และการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โดยถือเป็นหน้าที่ และแนวนโยบายของรัฐ ในอันที่จะต้องจัดการให้ประชาชนและชุมชนได้เข้าถึง และใช้ประโยชน์ในทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมนั้น ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยรับรองสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ สิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการทำประชาพิจารณ์ ตลอดจน

สิทธิในการฟ้องหน่วยงานของรัฐที่ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ให้ดำเนินการเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั้นได้อีกด้วย ทั้งนี้ จำเป็นจะต้องมีการจัดทำหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้

– พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๓๕
มีเนื้อหาในการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบรอบด้าน ทั้งมลพิษทางน้ำ อากาศ เสียง และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างความเข้มแข็งในการบังคับใช้กฎหมาย โดยการกำหนดให้มีเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการบังคับใช้กฎหมาย
ในด้านต่างๆ อย่างจริงจัง นอกจากนี้ กฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับนี้ ยังได้นำหลักการทางเศรษฐศาสตร์เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ด้วย เช่น หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย
(Polluter Pays Principle) และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อม การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากมลพิษ ที่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมหรือโครงการของรัฐ การร้องเรียน หรือกล่าวโทษผู้กระทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อม  องค์กรเอกชน หรือ NGOs ด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสามารถที่จะขอรับการช่วยเหลือ จากทางราชการในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมตลอดถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในคดีสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ การกำหนดมาตรการควบคุมมลพิษ ด้วยการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย อากาศเสีย ของเสีย หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดมลพิษไว้โดยชัดเจน ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิด ตามมาตรา ๕๕ การกำหนดแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้อง
ถูกควบคุมการปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม ตามมาตรา ๖๘ และ ๖๙ การตรวจสอบและควบคุมโดยเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ตามมาตรา ๑๑ อาทิ การตรวจสอบและออกคำสั่งทางปกครอง การประสานงานกับส่วนราชการอื่นๆ ในการควบคุมมลพิษ ให้ปฏิบัติเป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ หรือให้คำปรึกษาแนะนำแก่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๖๐ ๗๔ และ ๗๕

– กฎหมายสิ่งแวดล้อม มีบทลงโทษกับผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับกฎหมายอื่นๆ  โดยผู้กระทำความผิดอาจเป็นบุคคลเดียว กลุ่มคน บริษัทเอกชน หน่วยงานของรัฐ โรงงาน ที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือก่อความเสียหายให้ผู้อื่นหรือชุมชน ก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย โดยมีโทษทั้งกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง  โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งมลพิษจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง
ถ้าหากปล่อยให้แหล่งกำเนิดมลพิษที่ตัวเองดูแลหรือครอบครองอยู่นั้น ก่อให้เกิดการรั่วไหลหรือแพร่กระจายมลพิษ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย หรือทรัพย์สินไม่ว่าผลเสียหายนั้น จะเกิดเพราะความจงใจให้เกิดหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม และนอกจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับนี้ ที่กำหนดมาตรฐาน
ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษไว้อย่าง
กว้างๆ แล้ว กฎหมายยังได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทที่ชัดเจน เช่น การจัดการและควบคุมมลพิษทางน้ำ ขยะมูลฝอย รวมถึงเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ไว้ด้วย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

– กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่

  •  พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันอันตรายจากการประกอบกิจการ
    ที่มีอยู่ อันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยการกระจายอำนาจจากส่วนกลางให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย และให้ อปท. พิจารณาดำเนินการบัญญัติเป็นข้อบัญญัติของท้องถิ่นเพิ่มเติม โดยให้นายกเทศมนตรี เป็นผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย ส่วนกลางเป็นผู้ติดตามว่ากฎหมายมีปัญหาด้านใด และควรปรับปรุงอะไรบ้าง
  • พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕  เพื่อควบคุมและกำกับดูการประกอบกิจการโรงงาน ให้มีความปลอดภัยในกาประกอบกิจการโรงงาน และให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อป้องกันหรือระงับหรือบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่อาจเกิดแก่บุคคล หรือทรัพย์สินในโรงงานหรือบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนมาตรฐานและวิธีควบคุมการปล่อย ของเสีย มลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจัดให้มีการบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นจากโรงงานอย่างถูกต้อง

– นอกจากนี้ ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๐ ยังมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๕๐ เพื่อให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประชาชน ได้รับการประสานงาน เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และเพื่อเพิ่มช่องทางในการรับแจ้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ประชาชนหรือองค์กรเอกชน สามารถ
มีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม และติดตามกระบวนการในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษิส่งแวดล้อมและ
การเยียวยาความเสียหายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถแจ้งปัญหาสิ่งแวดล้อม ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ
ขึ้นอยู่กับประเภทของปัญหา เช่น สสภ. ทสจ. คพ. กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น

ไฟล์และสื่อประกอบ

ภาพ/ภาพเคลื่อนไหว/ไฟล์เสียง

File :Word/Powerpoint/PDF/

Infographic

Mind Map

อื่น ๆ………………………………………………………………………

Comments are closed.