ชื่อองค์ความรู้  : ขั้นตอนการดำเนินคดีปกครอง

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : –
 

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :

นายประมวล  เฉลียว

นางสาวสุจิรา  นาแซง

กลุ่มงาน : กลุ่มนิติการ
กอง :

โทรศัพท์ :

0 2265 6635

E-mail : legalonep@gmail.com

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

นับแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองสิทธิในสิ่งแวดล้อม  และทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนและกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ก็เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มากขึ้น โดยมีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ สผ. เป็นคดีปกครองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

Key Words ขององค์ความรู้

ขั้นตอนการดำเนินคดีปกครอง

สาระสำคัญขององค์ความรู้

๑. เมื่อมีการยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้ว ตุลาการเจ้าของสำนวน     จะตรวจความสมบูรณ์ของคำฟ้อง หากเห็นว่าคำฟ้องคดีนั้นไม่สมบูรณ์หรือ       มีข้อบกพร่องที่ผู้ฟ้องคดีอาจแก้ไขได้ ก็จะสั่งให้ผู้ฟ้องคดีแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ความไม่สมบูรณ์ของคำฟ้องนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ ศาลก็จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในคดีนั้นไว้พิจารณา  แต่ถ้าเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ก็จะสั่ง รับคำฟ้องไว้พิจารณา และมีคำสั่งเรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การภายใน      ๓๐ วัน หรือตามที่ศาลปกครองกำหนด

๒. เมื่อผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำให้การแล้ว ศาลจะมีคำสั่งเรียกให้ผู้ฟ้องคดีทำคำคัดค้านคำให้การ เพื่อโต้แย้งคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดียื่นต่อศาลภายใน ๓๐ วัน หรือตามที่ศาลปกครองกำหนด เมื่อผู้ฟ้องคดีทำคำคัดค้านคำให้การ   ยื่นต่อศาล ศาลจะมีคำสั่งเรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การเพิ่มเติมยื่นต่อศาลภายใน ๑๕ วัน หรือตามที่ศาลปกครองกำหนดทั้งนี้ หากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงจากคำฟ้องและคำให้การ เพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยคดีได้แล้ว ก็จะไม่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทำคำคัดค้านคำให้การหรือให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การเพิ่มเติม ก็ได้ แล้วแต่กรณี

๓. หากตุลาการเจ้าของสำนวนเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดียังไม่เพียงพอ       ศาลอาจเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติม หรือให้ส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมเข้ามาในสำนวนคดีได้ เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแล้วจะจัดทำบันทึกของตุลาการเจ้าของสำนวนเพื่อเสนอองค์คณะเพื่อพิจารณาและตุลาการหัวหน้าคณะจะมีคำสั่งกำหนดวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีนั้น โดยจะต้องแจ้งให้คู่กรณีทราบถึงกำหนดวันดังกล่าวด้วย๔. วันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก คือ วันที่ตุลาการเจ้าของสำนวนจะชี้แจงข้อเท็จจริงตามบันทึกของตุลาการเจ้าของสำนวนให้คู่กรณีทราบ คู่กรณีมีสิทธิ ยื่นคำแถลงเป็นหนังสือและแถลงด้วยวาจาต่อศาลพร้อมทั้งสามารถนำพยานหลักฐานมาชี้แจงประกอบคำแถลงของตนในวันที่พิจารณาคดี หรือจะยื่นคำแถลงเป็นหนังสือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีก็ได้ โดยการชี้แจงประกอบคำแถลง ในวันนั่งพิจารณาคดีจะต้องเกี่ยวกับประเด็นที่ได้กล่าวไว้แล้วในคำฟ้อง คำให้การ คำคัดค้านคำให้การ หรือคำให้การเพิ่มเติมเท่านั้น ในคดีแต่ละคดีจะมีการนั่งพิจารณาเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น แต่หากมีความจำเป็นศาลอาจกำหนดให้มีการนั่งพิจารณาคดีในคดีนั้นๆ เกินกว่าหนึ่งครั้งได้

๕. ภายหลังจากวันนั่งพิจารณาคดี ศาลก็จะนัดคู่กรณีมาฟังคำพิพากษาต่อไป ทั้งนี้ เมื่อศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว หากคู่กรณีประสงค์   จะคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ก็สามารถยื่นอุทธรณ์  ต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เพื่อให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาอุทธรณ์ต่อไปได้ โดยคู่กรณีจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด ๓๐ วันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากไม่มีการอุทธรณ์ภายในระยะเวลาดังกล่าว คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นก็จะถึงที่สุด

  1. tanawit Khampangan

    1 September, 2017

    ความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงการป้องกันที่เพียงพอในการเคลื่อนย้าย ดูแล และใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

  2. tanawit Khampangan

    1 September, 2017

    ความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงการป้องกันที่เพียงพอ

Comments are closed.