ชื่อองค์ความรู้  : ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (Intended Nationally Determined Contributions: INDCs)

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : 1 ตุลาคม 2558 (submit INDC)

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :
กลุ่มงาน : กลุ่มงานนโยบายและยุทธ์ศาสตร์
กอง :

สำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โทรศัพท์ : 02-2656500 ต่อ 6784
E-mail : npcccommittee@gmail.com

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์มีภารกิจหลักในการจัดทำและเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาแนวทางและกลไกที่ส่งเสริมการดำเนินงานไปสู่การปฏิบัติโดยประสานและเสริมสร้างความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน

Key Words ขององค์ความรู้

#NDCroadmap #NDC #การลดก๊าซเรือนกระจก #INDC

สาระสำคัญขององค์ความรู้

                ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมกับนานาประเทศในการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้จัดส่งข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (Intended Nationally Determined Contributions: INDCs) ไปยังสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘ โดยประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบจากกรณีดำเนินการปกติ (Business as Usaul: BAU) ซึ่งหากประเทศไทยได้รับการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยี การเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะทำให้ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงร้อยละ 25 จาก BAU

การจัดทำ INDC ของประเทศไทยสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการบูรณาการนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ และต่อยอดการดำเนินงานในกรอบ NAMAs ของประเทศด้วย โดยสาขาที่มีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ สาขาพลังงานและขนส่ง สาขาของเสีย และสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ตามมติการประชุมเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ ให้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเรื่องระดับนโยบายที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานของหลายภาคส่วน ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงานจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับภารกิจและแผนงานของหน่วยงาน สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระยาวได้อย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

การดำเนินการ INDC เป็นไปตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงปารีสที่กำหนดให้แต่ละภาคีต้องจัดทำ แจ้ง และจัดให้มีการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดอย่างต่อเนื่อง โดยภาคีที่ตั้งใจจะบรรลุการมีส่วนร่วมนั้น ต้องดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ แต่ละภาคีต้องแจ้งการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดทุกห้าปี และให้มีการติดตามสถานการณ์การดำเนินงานเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานเป็นไปตามข้อเสนอที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งความตกลงปารีสมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 จึงใช้คำว่า “Nationally Determined Contribution: NDC” แทน “Intended Nationally Determined Contribution: INDC”

ไฟล์และสื่อประกอบ

Comments are closed.