ชื่อองค์ความรู้  : ความปลอดภัยทางชีวภาพ

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : ธันวาคม 2558
 

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :

กลุ่มงาน :

ความมั่นคงทางชีวภาพ

กอง :

กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โทรศัพท์ :

0 2265 6562

E-mail : onep.biosafety@gmail.com

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นภารกิจที่ดำเนินงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เคลื่อนย้ายข้ามแดนตามพันธกรณีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ

Key Words ขององค์ความรู้

#ความปลอดภัยทางชีวภาพ #biosafety

สาระสำคัญขององค์ความรู้

ความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงการป้องกันที่เพียงพอในการเคลื่อนย้าย ดูแล และใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms – GMOs หรือ Living Modified Organisms – LMOs)
อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ที่อาจมีผลกระทบต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ซึ่งเป็นไปตาม“หลักการป้องกันไว้ก่อน” ตามวัตถุประสงค์ของพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ

ปัจจุบันพืชดัดแปลงพันธุกรรมมีความก้าวหน้ากว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ซึ่งได้รับการพัฒนาและผลิตในเชิงการค้า
ในหลายประเทศ เช่น ถั่วเหลืองต้านทานสารปราบวัชพืช มะละกอต้านทานโรค ฝ้ายต้านทานหนอนเจาะ เป็นต้น ดังนั้น การเลือกใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมจะต้องยึดในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นสำคัญ โดยจะต้องผ่านการทดสอบตั้งแต่ในระดับห้องปฏิบัติการ ในโรงเรือนสภาพปิด และในภาคสนาม รวมทั้งผ่านการประเมินความเสี่ยงตามมาตรฐานสากลว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่ากับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (Non-GMOs) มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

สำหรับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยทางชีวภาพต่างได้ประสานและร่วมมือกันดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามกรอบการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของประเทศไทย นอกจากนี้ ประชาชนในฐานะผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมติดตามและเฝ้าระวังเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นถึงความปลอดภัยภายหลังการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม หรือจำหน่ายในท้องตลาดได้ด้วย เช่น การสำรวจในพื้นที่ใกล้เคียง การสุ่มเก็บตัวอย่าง การติดตามความถูกต้อง
ของฉลาก เป็นต้น

Comments are closed.