คู่มือการปฏิบัติงาน  : กระบวนการนโยบายและแผน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

บทนำ

กระบวนการจัดทำนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เป็นหนึ่งในกระบวนการด้านระบบการจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการ ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นงานในความรับผิดชอบของสำนักสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ หรือ สชพ. ซึ่งได้มีภารกิจหน้าที่ในการจัดทำและเสนอแนะ นโยบาย แผน และมาตรการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน การจัดการพื้นที่สีเขียวและนันทนาการ รวมทั้ง พัฒนาเครื่องมือ กลไก มาตรการจูงใจ และการเสริมสร้างศักยภาพของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบาย แผน และมาตรการสู่การปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ของการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

  1. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีให้กับบุคลากรของสำนักสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ
  2. เพื่อเป็นการแสดงวิธีการทำงานที่สามารถถ่ายทอดให้กับผู้เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ พัฒนาให้การทำงานเป็นมืออาชีพ และให้บุคคลากรสามารถทำงานแทนกันได้
  3. เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนด ระเบียบ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ และมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ของกระบวนการนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

  1. เพื่อให้มีกรอบแนวทางของประเทศที่ครอบคลุมในการแก้ไขปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน ครอบคลุมประเด็นสำคัญของการพัฒนาเครื่องมือ กลไก มาตรการจูงใจ และการเสริมสร้างศักยภาพของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบาย แผน และมาตรการสู่การปฏิบัติ และการส่งเสริมรูปแบบการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. เพื่อใช้เป็นกรอบในเชิงนโยบายที่นำไปสู่การสร้างกลไกและเครื่องมือ ทั้งในภาพรวมและในภาคส่วนต่างๆ สำหรับผลักดันการแก้ไขปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบเขต

คู่มือการปฏิบัติงานนี้ครอบคลุมขั้นตอนการจัดทำนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ การจัดทำร่างนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน การรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การพิจารณาและการปรับปรุงร่างนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน จนได้นโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนฉบับสมบูรณ์ รวมถึงการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ และการติดตามผล

ข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

 
ประเด็นข้อกำหนด ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดและกฏหมาย
– หน่วยงานภาครัฐ -องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น – ประชาชน – นักวิชาการ นักวิจัย – หน่วยงานภาคเอกชน 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ….
ความต้องการและความ คาดหวัง 1. นโยบาย แผน และมาตรการในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน 2. นำไปปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดผลในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 3. ข้อมูล องค์ความรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนที่เป็นที่ยอมรับ เป็นปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีรูปแบบการเผยแพร่ที่เหมาะสม 2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จุดควบคุมใน กระบวนการ 1. มีการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ครอบคลุม และเป็นปัจจุบัน 2. มีการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดทั้งกระบวนการ 3. มีการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้รับบริการ  3. พระราชบัญญัติกำหนดแนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 4. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2548

 

คำจำกัดความ

  ชุมชน หมายความว่า หน่วยการปกครองระดับล่างสุดที่ประกอบด้วยกลุ่มคนที่รวมตัวกันเป็นสังคม ตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกเดียวกัน มีขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือสภาพทางกายภาพที่แน่นอน มีประชากรจำนวนหนึ่ง และมีระบบกลไกการปกครองที่เชื่อมต่อกับกลไกของรัฐในเขตพื้นที่ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการและประกาศโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ตามระบียบว่าด้วยชุมชนหรือกรรมการชุมชน สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่มีอยู่โดยรอบของสิ่งที่มีชีวิต ไม่ว่าจะเกิดเองโดยธรรมชาติ และหรือที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ทั้งที่อยู่ใต้ดิน บนดิน และอากาศ (ตามมาตรา 4 ในร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม, 2556) สิ่งแวดล้อมชุมชน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นที่อยู่รอบตัวมนุษย์ที่อยู่อาศัยในชุมชน ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (ที่จับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (เช่น วัฒนธรรม แบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) ซึ่งมีอิทธิพลเกี่ยวโยงและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การจัดการ หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านการจัดหาและสรรค์สร้าง การป้องกันและเฝ้าระวัง การซ่อมแซมบำบัดฟื้นฟู การใช้อย่างประหยัดคุ้มค่า และการเก็บรักษาอนุรักษ์และสงวนให้ยั่งยืน เพื่อให้กิจกรรมที่ดำเนินการนั้น สามารถให้ผลยั่งยืนต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติ โดยหลักการ “การจัดการ” จะต้องมีแนวทางการดำเนินงาน กระบวนการ และขั้นตอน รวมทั้งจุดประสงค์ในการดำเนินงานที่ชัดเจนแน่นอน การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรามีผลดีต่อคุณภาพชีวิต จะต้องดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษ ที่จะมีผลต่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ปลอดภัยของชุมชนหรือประชาชน  

ความรับผิดชอบ

ในแต่ขั้นตอนของการปฏิบัติงานได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน ซึ่งถูกรวบรวมและแสดงไว้ในหัวข้อที่ 8

ระเบียบปฏิบัติ (ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)

กระบวนการจัดทำนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน ได้เน้นการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วน โดยใช้ประสบการณ์เครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทั่วประเทศ และรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จนได้ร่างนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน และได้รับความเห็นชอบคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีตามลำดับ จากนั้นนำนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน ที่ได้รับความเห็นชอบเผยแพร่สู่สาธารณะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน และมีการติดตาม ประเมินผล โดยในแต่ละขั้นตอนได้มีการระบุรายละเอียดของงาน ข้อมูลป้อนเข้า ผลผลิต รวมถึงการกำหนดผู้รับผิดชอบ โดยกระบวนการขั้นตอนการจัดทำนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน มีรายละเอียดดังแสดงในรูป

รูปแผนภาพกระบวนการนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

ตัวชี้วัดและมาตรฐานงาน

กระบวนการนโยบายและแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน มีมาตรฐานงานคือนโยบายและแผน ที่ช่วยกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกิดการพัฒนาและขยายตัวของเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยแยกเป็นตัวชี้วัดได้ดังนี้

 
กระบวนการ   ตัวชี้วัด    
  กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ
นโยบายและแผนด้าน การจัดการ สิ่งแวดล้อมชุมชน – ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดทำนโยบาย – จำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวนนโยบาย/แผน ที่ได้ จำนวนนโยบาย/แผนที่ถูกนำไปปฏิบัติ – ความพึงพอใจของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่

 

เอกสารอ้างอิง

ในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน มีเอกสารอ้างอิง เพื่อให้การปฏิบัติงานสมบูรณ์

  1. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 – 2564
  2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

แบบฟอร์มที่ใช้ (ถ้ามี)

แบบประเมินความพึงพอใจ

เอกสารบันทึก

  1. รายงานการประชุม
  2. หนังสือจากหน่วยงาน คนในพื้นที่
  3. หนังสือตอบข้อหารือ

ไฟล์และสื่อประกอบ

ภาพ/ภาพเคลื่อนไหว/ไฟล์เสียง File : การแปลเอกสารวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม

Comments are closed.