[gview file=”http://km.onep.go.th/wp-content/uploads/2017/09/Doc01-2017.pptx” height=”500px” width=”100%” save=”1″]

คู่มือการปฏิบัติงาน  : การแปลเอกสารวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม

บทนำ

ในปัจจุบัน การลดลงและเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชาติและระดับโลกที่ต้องอาศัยการดำเนินงานแก้ไขปัญหาทั้งในระดับชาติ และความร่วมมือจากต่างประเทศรวมถึงการสนับสนุนจากประชาคมนานาชาติ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของความตกลงระหว่างประเทศ หรือ อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เพื่อดำเนินงานตามพันธกรณีในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในทุกระดับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางแห่งชาติ (National Focal Point) ของอนุสัญญาฯ ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมวิชาการที่สำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ จัดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งจะต้องมีการแปลเอกสารข้อมูลประกอบการประชุม และข้อมติหรือข้อตัดสินใจ (decision) ที่เกิดขึ้นจากการประชุมจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมประชุม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ได้รับทราบในเนื้อหาและมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปอ้างอิงและปรับใช้กับการดำเนินงานของตนได้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเห็นสมควรจัดทำคู่มือการแปลเอกสารวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแปลเอกสารวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลภาษาหรือการแปลข้ามวัฒนธรรม โดยได้สรุปหลักการแปลบทความทางวิชาการและรวบรวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่พบบ่อยในงานวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการแปล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการแปลเอกสารจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
  2. สามารถใช้เป็นหลักปฏิบัติในการแปลงานวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. การวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับ
2. การสืบค้นข้อมูลประกอบการแปล
3. การแปล
4. บรรณาธิการ / ตรวจทาน / ตรวจแก้ต้นฉบับ
5. เผยแพร่งานแปล

1. การวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับ

เหตุผลในการปฏิบัติ

เพื่อศึกษา วิเคราะห์เอกสารต้นฉบับในภาพรวมว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องใด และประเมินว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการแปลนานเท่าใด

เทคนิคในการปฏิบัติ

การอ่านแบบ skimming (การอ่านแบบข้าม) เพื่อเก็บประเด็นหรือใจความสำคัญของบทความ

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

 เอกสารต้นฉบับ

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

2 ชั่วโมง หรือมากกว่า (ขึ้นกับปริมาณของต้นฉบับ)

วิธีการติดตามผลภายหลัง

2. การสืบค้นข้อมูลประกอบการแปล

เหตุผลในการปฏิบัติ

เพื่อสืบค้นหาความหมายของคำศัพท์ และหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้งานแปลมีความสมบูรณ์มากขึ้น (หากจำเป็น)

 

เทคนิคในการปฏิบัติ

1. หาคำศัพท์และข้อมูลประกอบการแปลจากอินเทอร์เน็ต
2. หาคำศัพท์และข้อมูลจากหนังสือและสื่ออื่นๆ
3. สอบถามจากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ

 

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– แหล่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
– หนังสือและสื่ออื่นๆ

 

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

xx วัน (ขึ้นอยู่กับปริมาณของต้นฉบับ) 

 

วิธีการติดตามผลภายหลัง

3. การแปล

เหตุผลในการปฏิบัติ

เพื่อทำการถ่ายทอดความหมายและเนื้อหาในเอกสารต้นฉบับภาษาอังกฤษ มาเป็นภาษาไทยที่ถูกต้อง สละสลวย

 

เทคนิคในการปฏิบัติ

– การอ่านแบบ scanning (การอ่านจับจุด)
– การอ่านแบบ skimming (การอ่านแบบข้าม)

 

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– อุปกรณ์เครื่องเขียน
– คอมพิวเตอร์
– พจนานุกรม

 

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

XX วัน (ขึ้นอยู่กับปริมาณของต้นฉบับ) 

 

วิธีการติดตามผลภายหลัง

4. บรรณาธิการ / ตรวจทาน / ตรวจแก้ต้นฉบับ

เหตุผลในการปฏิบัติ

เพื่อให้งานแปลมีความถูกต้องสมบูรณ์ เนื้อหาครบถ้วน ภาษาสละสลวย และความหมายไม่คลาดเคลื่อน

 

เทคนิคในการปฏิบัติ

1. ตรวจต้นฉบับด้วยตัวเอง
2. ให้ผู้อื่นหรือผู้เชี่ยวชาญตรวจทานให้

 

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– คอมพิวเตอร์

 

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

– 1 วัน หรือมากกว่า (ขึ้นกับความยาวของเอกสาร)

 

วิธีการติดตามผลภายหลัง

5. เผยแพร่งานแปล

เหตุผลในการปฏิบัติ

เพื่อเผยแพร่งานแปลให้ผู้เข้าร่วมประชุม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ได้รับทราบในเนื้อหาและมีความรู้ความเข้าใจ 

 

เทคนิคในการปฏิบัติ

1. เผยแพร่ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
2. เผยแพร่เป็นเอกสาร/หนังสือ/สิ่งพิมพ์/สื่อในรูปแบบอื่นๆ

 

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– เอกสารเผยแพร่            

– ระบบอินเตอร์เน็ต

 

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

 

วิธีการติดตามผลภายหลัง

ไฟล์และสื่อประกอบ

ภาพ/ภาพเคลื่อนไหว/ไฟล์เสียง File : การแปลเอกสารวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม

Comments are closed.