คู่มือการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (มาตรา ๔๔) ประจำปี


 บทนำ

รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ เพื่อให้ส่วนราชการมีการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจึงต้องมีการดำเนินงานตามแผนงานโครงการที่สอดรับกับนโยบายที่สำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตาม เป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (มาตรา ๔๔) ถือเป็นกลไกหรือเครื่องมือในการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่มีการวัดผลความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการ เป็นการพัฒนาระบบการดำเนินงานของส่วนราชการในการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญของรัฐบาล การแก้ไขปัญหาและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และเพิ่มศักยภาพของส่วนราชการในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ โดยมีกรอบการประเมิน ๕ องค์ประกอบ ดังนี้

  • องค์ประกอบที่ ๑ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นฐาน (Functional Base)     องค์ประกอบที่ ๒ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจยุทธศาสตร์หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ (Agenda Base)
  • องค์ประกอบที่ ๓ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นที่ หรือการบูรณาการดำเนินงานหลายหน่วยงาน (Area Base)
  •  องค์ประกอบที่ ๔ ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมในการบริหารจัดการระบบงาน (Innovation Base)
  • องค์ประกอบที่ ๕ ศักยภาพในการเป้นส่วนราชการที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (Potential Base)

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
  • เพื่อให้หน่วยงานมีการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริหารงาน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
๑. ศึกษา วิเคราะห์แนวทางการจัดทำตัวชี้วัด
๒. เจรจาต่อรองตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย
๓. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายเสนอผู้บริหาร
๔. ติดตามผลความก้าวหน้าของการปฏิบัติราชการฯ และจัดทำรายงานผลการประเมินทุกรอบการประเมิน

๑. ศึกษา วิเคราะห์แนวทางการจัดทำตัวชี้วัด

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของสำนักงาน

เทคนิคในการปฏิบัติ

๑. ศึกษา วิเคราะห์แนวทางการจัดทำตัวชี้วัด  ค่าเป้าหมาย ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด

๒. จัดประชุมชี้แจงกรอบการจัดทำตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงาน และประสานสำนัก/กอง/กลุ่ม เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

๓. จัดทำร่างตัวชี้วัดตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศ/ยุทธศาสตร์กระทรวง/ภารกิจหลักของสำนักงาน

๔. นำเสนอร่างตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนนต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สผ. (กพร.สผ.)พิจารณาให้ความเห็นชอบ

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– นโยบายรัฐบาล วาระแห่งชาติ

– ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ภารกิจของสำนักงาน

– กรอบ หลักเกณฑ์ และแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับกรม ตามที่ สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด

ระยะเวลา

๗ วัน

วิธีการติดตามผล

  • ตัวชี้วัดผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สผ.

๒. เจรจาต่อรองตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ.ร.

เทคนิคในการปฏิบัติ

เข้าร่วมประชุมชี้แจง และเจรจาต่อรองตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– การเจรจาต่อรอง

ระยะเวลา

วิธีการติดตามผล

  • สรุปผลการกำหนดตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากำสนักงาน ก.พ.ร. 

๓. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายเสนอผู้บริหาร

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อกำหนด

เทคนิคในการปฏิบัติ

๑. ตรวจสอบ ยืนยันความถูกต้องผลการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล

๒. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดและคำรับรองการปฏิบัติราชการเสนอผู้บริหาร และ แจ้งเวียนผู้รับผิดชอบ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่ในระบบอินทราเน็ต

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำ รับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ

ระยะเวลา

๑๐ วัน

วิธีการติดตามผล

  • หนังสือยืนยันรายละเอียดตัวชี้วัด

๔. ติดตามผลความก้าวหน้าของการปฏิบัติราชการฯ และจัดทำรายงานผลการประเมินทุกรอบการประเมิน

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

เทคนิคในการปฏิบัติ

๑. แจ้งสำนัก/กอง/กลุ่ม รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ รอบ ๖ เดือน และ ๑๒ เดือน

๒. จัดทำรายงานการประเมินผลตนเอง (Self Assessment Report) รอบ ๖ เดือน และ ๑๒ เดือน ผ่านระบบรายงานผลการปฏิบัติราชการทางอิเล็กททรอนิกส์ (e-SAR) ของสำนักงาน ก.พ.ร. ตามระยะเวลาที่กำหนด

๓. นำเสนอผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารรับทราบ

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– การใช้ระบบรายงานผลการปฏิบัติราชการทางอิเล็กททรอนิกส์ (e-SAR)

ระยะเวลา

เม.ษ. และต.ค.

วิธีการติดตามผล

  • รายงานการประเมินผลตนเอง (Self Assessment Report) รอบ ๖ เดือน และ ๑๒ เดือน

ข้อควรพึงระวัง

Comments are closed.