คู่มือการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ


บทนำ

         จากบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การให้ความสำคัญด้านธรรมา     ภิบาล และการตื่นตัวในประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาคประชาสังคม ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ที่ส่งผลกระทบชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อองค์กร จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรขึ้น  ซึ่งการปรับปรุงบทบาท ภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการ ถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการปฏิรูประบบราชการ เพื่อทบทวนและจัดภารกิจของหน่วยงานให้มีความเหมาะสม ขจัดความซ้ำซ้อนและเป็นเอกภาพ มีผู้รับผิดชอบชัดเจน สอดรับกับแนวนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ รวมถึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชนให้มากขึ้น

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการปรับปรุงโครงสร้างของสำนัก/กอง
  • เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
  • เพื่อลดความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นระบบ
๑. ตรวจสอบ/ กลั่นกรองเอกสาร คำชี้แจงประกอบการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ จำนวน ๑๐ รายการ
๒. นำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงเอกสารและแนวทางการดำเนินงานปรับโครงสร้าง
๓. จัดประชุมคณะทำงานแบ่งส่วนราชการ สผ.
๔. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ ของ ทส.
๕. ปรับปรุงร่างคำชี้แจงประกอบคำขอปรับปรุงโครงสร้าง/ส่งสำนักงาน ก.พ.ร.
๖. ประสาน ติดตามการพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯของคณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ของสำนักงาน ก.พ.ร.

๑. ตรวจสอบ/ กลั่นกรองเอกสาร คำชี้แจงประกอบการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ จำนวน ๑๐ รายการ

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อจัดทำคำชี้แจงประกอบการปรับปรุงการแบ่งสว่นราชการ

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • ตรวจสอบ/ กลั่นกรองเอกสารคำชี้แจงประกอบการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ จำนวน ๑๐ รายการ 
  • ศึกษา/ วิเคราะห์คำชี้แจงฯ (กฎหมาย/ โครงสร้าง : เปรียบเทียบระหว่างกรมและกระทรวง)
  • สรุปสาระสำคัญ

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • หนังสือสั่งการหรือมอบหมายให้ปฏิบัติในการทบทวนบทบาทภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการ 
  • กฎหมาย/กฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับ/มติคณะรัฐมนตรี/เงื่อนไขต่างๆที่เกี่ยวข้อง
  • กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการฉบับปัจจุบัน

ระยะเวลา

๑๕ วัน

วิธีการติดตามผล

  • คำชี้แจงประกอบการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ จำนวน ๑๐ รายการ และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องครบถ้วน เพื่อนำเสนอ กพร.สผ.

๒. นำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงเอกสารและแนวทางการดำเนินงานปรับโครงสร้าง

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อนำเสนอผู้บริหาร และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สผ. (กพร.สผ.)ให้ความเห็นชอบ

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • นำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงเอกสารและแนวทางการดำเนินงานปรับโครงสร้างเสนอเลขาธิการ สผ.

  • จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สผ.

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การเขียนหนังสือราชการ
  • การจัดประชุม

ระยะเวลา

๕ วัน

วิธีการติดตามผล

  • ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงเอกสารและแนวทางการดำเนินงานปรับโครงสร้าง ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหาร และกพร.สผ.

๓. จัดประชุมคณะทำงานแบ่งส่วนราชการ สผ.

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อนำเสนอรายละเอียดการปรับปรุงโครงสร้างให้คณะทำงานแบ่งส่วนราชการพิจารณา

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • ประสานผู้บริหาร และคณะทำงานแบ่งส่วนราชการภายใน สผ. และภายนอก สผ. กำหนดวันประชุม

  • จัดทำเอกสารประกอบการประชุม เชิญประชุมและประสานสำนัก/กอง/กลุ่ม หรือบุคคล

  • จัดประชุมและจัดทำรายงานการประชุม และแจ้ง สำนัก/กอง/กลุ่ม แก้ไขเอกสาร ตามมติที่ประชุม (ถ้ามี)

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การจัดประชุม

  • การเขียนรายงานการประชุม

ระยะเวลา

๒๕ วัน

วิธีการติดตามผล

  • มติการประชุมคณะทำงานแบ่งส่วนราชการ สผ.

๔. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ ของ ทส.

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อนำเสนอร่างคำชี้แจงฯ ต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ทส.

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • นำเสนอร่างคำชี้แจงฯ ต่อ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ ทส. พิจารณา

  • จัดทำเอกสารนำเสนอประกอบการประชุม/เชิญสำนัก/กอง/กลุ่มที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การเขียนวาระการประชุม

ระยะเวลา

๑๐ วัน

วิธีการติดตามผล

  • รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ ทส.

๕. ปรับปรุงร่างคำชี้แจงประกอบคำขอปรับปรุงโครงสร้าง/ส่งสำนักงาน ก.พ.ร.

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อปรับปรุงร่างคำชี้แจงตามข้อคิดเห็น และนำเสนอสำนักงาน ก.พ.ร. ให้ความเห็นชอบ

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • ปรับปรุงคำชี้แจงประกอบคำขอปรับปรุงโครงสร้าง และร่างกฎกระทรวงตามมติคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ ของ ทส. แล้วเสนอ ปลัดกระทรวง เพื่อส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณา

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

– 

ระยะเวลา

๒๐ วัน

วิธีการติดตามผล

  • หนังสือส่งคำชี้แจงประกอบคำขอปรับปรุงโครงสร้าง และร่างกฎกระทรวง

๖. ประสาน ติดตามการพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯของคณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ของสำนักงาน ก.พ.ร.

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อติดตามการพิจารณาร่างกฎ กระทรวงแบ่งส่วนราชการ ของ สผ.

เทคนิคในการปฏิบัติ

๑. ติดตามผลการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านเศรษฐกิจ และแจ้งยืนยันความเห็น

๒. ติดตามผลการพิจารณาของ ก.พ.ร. และนำเสนอ รมว. ลงนาม ส่งร่างกฎ กระทรวงแบ่งส่วนราชการให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณา

๓. ประสานการแก้ไขกฎกระทรวงกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การประสานงาน

ระยะเวลา

วิธีการติดตามผล

  • มติที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านเศรษฐกิจ

  • หนังสือแจ้งยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ข้อควรพึงระวัง

Comments are closed.