ชื่อองค์ความรู้  : ร่าง นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙)

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : มิถุนายน  ๒๕๖๐
 

[gview file=”http://km.onep.go.th/wp-content/uploads/2017/09/1.Full_.pptx” height=”500px” width=”100%” save=”1″]

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :
กลุ่มงาน : นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
กอง :

กองบริหารจัดการที่ดิน

โทรศัพท์ : ๐๒ ๒๖๕ ๖๕๔๘
E-mail : onep.land@gmail.com

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

ร่าง นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) จะใช้เป็นกรอบแนวทางการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศระยะยาว ในเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินของประเทศ

Key Wordsขององค์ความรู้

##ร่างนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ##ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดิน

สาระสำคัญขององค์ความรู้

ร่างนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ภายใต้ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๗ และร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. …. มีอำนาจหน้าที่สำคัญในการจัดทำนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งการกำหนดแนวทางหรือมาตรการเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินและทรัพยากรดินมาโดยตลอด ทั้งเรื่องการบุกรุกที่ดินของรัฐ ปัญหาเรื่องแนวเขตที่ดิน ปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมของดิน เป็นต้น ดังนั้น การกำหนดทิศทางการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ จึงต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ มีการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและทำมาหาเลี้ยงชีพได้อย่างทั่วถึง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการบูรณาการให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นไปอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของที่ดิน มีความเชื่อมโยงกับการจัดการทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ และชายฝั่ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ โดยคำนึงถึงสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน หลักธรรมาภิบาล การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และภูมิสังคม ปัญหาที่ดินและทรัพยากรดิน สามารถจำแนกจัดกลุ่มได้ ๔ ประเภทหลัก ได้แก่ ๑. ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่สงวนหวงห้าม ฯลฯ ๒. ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินไม่เหมาะสมตามศักยภาพ ทำให้ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ยังมีที่ดินจำนวนมาก ที่ถูกปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ๓ ปัญหาผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยเพียงพอ ทำให้เกิดการบุกรุกที่ดินของรัฐ รวมทั้งปัญหาในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ประชาชนมีรายได้และ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔. ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ที่ในปัจจุบันกระจัดกระจายอยู่ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฏหมายหลายฉบับ ทำให้การบริหารจัดการขาดเอกภาพและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จากปัญหาที่ดินและทรัพยากรดินที่มีหลากหลายประเด็น ซึ่งส่งผลให้การใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินไม่เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการกระจายการถือครองที่ดินอย่างไม่ทั่วถึงและเป็นธรรม ที่ดินจำนวนมากถูกปล่อยทิ้งร้างให้เป็นที่ว่าง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดิน และทรัพยากรดินในองค์รวมของประเทศ โดยในการดำเนินการกำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ได้ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดิน บนแนวทางของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และองค์ความรู้ทางวิชาการ รวมทั้งได้มีการพิจารณาร่วมกับบริบทการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างรอบด้าน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) นโยบายรัฐบาล (ด้านที่ ๓ และด้านที่ ๙) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ วาระปฏิรูปที่ ๑๑ ปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน รวมทั้ง นโยบาย และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาเป็นกรอบแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนฯ โดยคำนึงถึงปัญหาด้านที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาในปัจจุบัน และในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นบนเงื่อนไขของเวลา คำนึงถึงความท้าทายจากบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมปัญหาทุกมิติ ทุกด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ โดยยึดหลักการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ จึงได้มีการจัดทำนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๗๙) เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบาย (Policy Framework) ในระยะยาวของประเทศ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านที่ดินและทรัพยากรดิน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการ การจัดสรรงบประมาณ ภายใต้ภารกิจของหน่วยงานได้อย่างบูรณาการ ทั้งนี้ สาระสำคัญของนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ประกอบด้วย นโยบายหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ การอนุรักษ์ที่ดินและทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านการจัดที่ดินให้ประชาชนผู้ยากไร้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน โดยสาระประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : ด้านการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ การอนุรักษ์ที่ดินและทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ สงวน หวงห้าม คุ้มครอง ดูแลรักษา และฟื้นฟู พื้นที่ป่าไม้ของประเทศให้มีความอุดมสมบูรณ์และรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามแนวทางประชารัฐ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดินและสมรรถนะของดิน การกระจายการถือครองที่ดินอย่างทั่วถึง เป็นธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและความมั่นคงของประเทศตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : ด้านการจัดที่ดินให้ประชาชนผู้ยากไร้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ยากไร้มีที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย และมีระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน วัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินมีเอกภาพ มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐตามหลักธรรมาภิบาล หรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

ไฟล์และสื่อประกอบ

Comments are closed.