ชื่อองค์ความรู้  :แนวทางการวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : –

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล : ณัฐิยา ลาภเลิศสุข 
กลุ่มงาน :

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

กอง :  –
โทรศัพท์ :  –
E-mail :  –

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

Key Words ขององค์ความรู้

การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ

สาระสำคัญขององค์ความรู้

  • เหตุผลความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
    • หน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป
    • มีการเปลี่ยนแปลงระบบหรือวิธีการทำงาน
    • มีปัญหาในการดำเนินงานหรือการบริหารงานอันเนื่องมาจากโครงสร้างไม่เหมาะสม
  • แนวทางการวิเคราะห์งานเมื่อสำนักงานฯจะปรับโครงสร้าง

  1. ทบทวนภาพรวมของสำนักงานฯ ได้แก่ ลักษณะสำคัญขององค์กร บทบาทภารกิจ ยุทธศาสตร์หน่วยงาน และสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบหน่วยงาน

๒. หน่วยงานต้องมีข้อมูลประกอบ มีการวิเคราะห์ Outside – in  และ  Inside – Out

๓. มีการวิเคราะห์ ใน ๑๐ ประเด็น  โดยมีแนวทางการวิเคราะห์ ดังนี้

๑) วิเคราะห์ภารกิจ  เพื่อหาข้อสรุปว่าเป็นภารกิจที่จำเป็นต้องดำเนินการจริงๆ

๒) เหตุผลความจำเป็น ต้องแสดงให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับในการปรับโครงสร้างว่ามีประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐ  / ยุทธศาสตร์ประเทศอย่างไร ส่งผล/เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศอย่างไร

๓) ปัญหาที่ทำให้ต้องปรับโครงสร้าง และส่วนราชการได้แก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่อย่างไร รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร

๔) เปรียบเทียบขอบเขตอำนาจหน้าที่ปัจจุบัน และที่จะเสนอปรับปรุง

๕) แนวคิดการปรับปรุงระบบและกระบวนการทำงานที่รองรับการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ

๖) ปริมาณงาน/คุณภาพงาน ในภารกิจปัจจุบันมีจำนวน/คุณภาพ มากน้อยเพียงใดข้อมูลควรมีย้อนหลังอย่างน้อย ๓ ปี สำหรับภารกิจที่จะขอปรับปรุงมีการดำเนินงานอะไรแล้วบ้างมีปริมาณ/คุณภาพอย่างไร ควรมีการกำหนดเป้าหมายล่วงหน้าตามแผนที่มี

๗) บุคลากร/งบประมาณ จำแนกภาระงบประมาณและบุคลากรที่เปลี่ยนแปลงจากการปรับปรุงส่วนราชการโดยประมาณการล่วงหน้าอย่างน้อย ๓ ปี

๘) การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างหน่วยงานที่ดี เป็นที่ยอมรับ ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายส่วนราชการ

๙)ความคุ้มค่าและประโยชน์ที่ได้รับ แสดงให้เห็นความคุ้มค่าและประโยชน์ที่จะได้ต่อส่วนราชการ ต่อประชาชน ต่อประเทศชาติ เมื่อมีการปรับปรุงส่วนราชการ

๑๐) ตัวชี้วัดแสดงผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการแบ่งส่วนราชการ โดยแสดงตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงจากผลการปรับโครงสร้าง   ผลการดำเนินงานในปัจจุบันของตัวชี้วัด  และค่าเป้าหมายที่คาดหวัง

 

และเมื่อสำนักงานฯ สรุปผลการวิเคราะห์ทั้ง ๑๐ ประเด็นได้ครบถ้วนแล้ว และเห็นความจำเป็นต้องปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ  ให้สำนักงานฯตามขั้นตอนการเสนอร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในกรม (ว ๑๘/๒๕๔๙)

 

Comments are closed.