ชื่อองค์ความรู้  : แนวทางในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interests)

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : –
 

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :

นายประมวล เฉลียว

นางสาวกัญญา มะระสี

กลุ่มงาน : กลุ่มนิติการ
กอง :

โทรศัพท์ :

0 2265 6635

E-mail : legalonep@gmail.com

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและแนวทางในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน อันเป็นกลไกหนึ่งในการปราบปรามการทุจริต ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติและมีผล             ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน

Key Words ขององค์ความรู้

#ผลประโยชน์ทับซ้อน

#ผลประโยชน์ขัดกัน

#ของขวัญ

สาระสำคัญขององค์ความรู้

  1. ความหมาย

      ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนทั้งที่เกี่ยวกับเงินและที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ กับผลประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ (Conflict of Interests) เป็นสถานการณ์ที่บุคคลในฐานะพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ                        ใช้ตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์แก่ตนเอง กลุ่ม หรือพวกพ้อง ซึ่งเป็นการละเมิดทางจริยธรรม และส่งผลกระทบหรือความเสียหาย                  ต่อประโยชน์สาธารณะ

คำอื่นที่มีความหมายถึงความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ได้แก่ การมีผลประโยชน์ทับซ้อน ความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ และรวมถึงคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย คอร์รัปชั่นสีเทา     

  1. ลักษณะการกระทำ
    • รับผลประโยชน์ (Accepting Benefits)
    • ใช้อิทธิพล (Influence Peddling)
    • ใช้ทรัพย์สินหรือบุคคลากรของราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตน (Using employer’s property for private advantage)
    • ใช้ข้อมูลลับของราชการ (Using Confidential Information)
    • รับงานนอก (Outside employment or moonlighting)
    • ทำงานหลังออกจากตำแหน่ง (Post-employment)
    • การทำธุรกิจกับตนเองหรือเป็นคู่สัญญา (Self-dealing)

 

  1. แนวทางป้องกัน
    • มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรการคัดสรรคนดีเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง กำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง การเพิ่มระบบและองค์การตรวจสอบการใช้อำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
    • การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง เช่น การมีประมวลจริยธรรมและการห้ามผลประโยชน์ทับซ้อน การแสดงบัญชีทรัพย์และหนี้สิน และการใช้หลักโปร่งใสในการใช้อำนาจ
    • เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถใช้แนวทางการปฏิบัติตามหลักนิติธรรม หลักคุณธรรมจริยธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า หรือที่เรียกว่า หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

 

  1. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    • ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. …….

เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ไม่สนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบ    ทุกรูปแบบ และจะต้อง ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ

  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องห้ามมิให้กระทำการตามมาตรา 100 และมาตรา 103 และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปีต้องห้ามมิให้กระทำการดังกล่าวข้างต้นด้วย

  • ประมวลกฎหมายอาญา

เจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้ามีส่วนได้เสีย                  เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

  • ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543

กฎหมายกำหนดห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา เช่น รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติ ซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสมตามฐานานุรูป                         รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติ โดยมีราคาหรือมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกิน 3,000 บาท                       รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่การให้นั้นเป็นการให้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป และการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากต่างประเทศ ซึ่งผู้ให้มิได้ระบุให้เป็นของส่วนตัวหรือมีราคาหรือมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท ไม่ว่าจะระบุเป็นของส่วนตัวหรือไม่ แต่มีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล หากมีความจำเป็นต้องรับไว้ให้รายงานรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันทีที่จะทำได้ ผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลพินิจพิจารณาและมีคำสั่งให้ยึดถือทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวนั้นไว้เป็นประโยชน์                     ส่วนบุคคล หรือให้ส่งคืน หรือให้ส่งมอบทรัพย์สินให้หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดก็ได้ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามข้อห้าม หรือการไม่รายงานเมื่อได้รับทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามไว้ หรือการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำความผิดมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒

  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559

กำหนดให้คดีอาญาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด                   หรือร่วมกับเอกชนกระทำผิด เช่น ฮั้วประมูล คดีแพ่งที่ขอให้ริบทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน คดีความผิดฐานฟอกเงิน คดีร่ำรวยผิดปกติ และคดีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จ ไม่ว่าจะเป็นคดีสำนวนของ ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. หรือคดีที่ประชาชนผู้เสียหายฟ้องร้องเอง ให้ยื่นฟ้องและพิจารณาโดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

Comments are closed.