ชื่อองค์ความรู้  : แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :
กลุ่มงาน : นโยบายและแผน สวล.
กอง :

โทรศัพท์ : 6767
E-mail : policy@onep.go.th

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

การจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นภารกิจหลักของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นไปตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕

Key Words ขององค์ความรู้

– แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

– แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔

สาระสำคัญขององค์ความรู้

แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้น เป็นไปตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ ปัจจุบันได้มีการจัดทำ แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ (พ.ศ. ๒๕๗๓) โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

สาระสำคัญของแผนจัดการฯ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ประกอบด้วย

แนวคิด ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบในการจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักการที่เกี่ยวข้อง ๑๐ หลักการ การพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศ การระวังไว้ก่อน ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่าย ความเป็นหุ้นส่วนของรัฐ – เอกชน ธรรมาภิบาล การขยายความรับผิดชอบแก่ผู้ผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสิทธิมนุษยชน

วิสัยทัศน์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และมุ่งสู่การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พันธกิจ ประเทศไทยมีการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า สมดุล และเป็นธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดการให้มีคุณภาพที่ดี  บนพื้นฐานการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เป้าประสงค์ เพื่อให้มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนในระดับปฏิบัติ ที่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม บนพื้นฐานการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ประเด็นยุทธศาสตร์ มี ๔ ยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญ คือ

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับการป้องกัน บำบัดและฟื้นฟู

ยุทธศาสตร์ที่ : เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างคุ้มค่า และยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : สร้างศักยภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ และส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ

Comments are closed.