ชื่อองค์ความรู้  : CSR กับหน่วยงานภาครัฐ

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : –
 

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :  
กลุ่มงาน : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
กอง :

โทรศัพท์ :


E-mail :

สาระสำคัญขององค์ความรู้

ซีเอสอาร์ เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในองค์กรและในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

สาเหตุที่หน่วยงานทำกิจกรรม CSR นั้นมีหลายเหตุ Porter และ Kramer (2006) เชื่อว่า มี 4 ประการ คือ

1) เป็นข้อผูกพันเชิงจริยธรรม

2) เพื่อความยั่งยืน

3) เพื่อทำให้ปฏิบัติตามพันธกิจได้ และ

4) เพื่อชื่อเสียงขององค์การ สองสาเหตุหลัง นั้นเป็น CSR ที่มุ่งคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียภายนอกเป็นสำคัญ

ซึ่งธนาคารโลก ได้กล่าวถึง การจัดการเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR สำหรับภาครัฐใน 4 บทบาท ดังนี้

1.บทบาทภาคบังคับ ( Mandatory)โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ซึ่งอาจมีการควบคุมมาตรฐานเพื่อให้กระบวนการผลิตและการทำธุรกิจไม่ทำร้ายสังคม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การตั้งค่าจำกัดการปล่อยความร้อนจากโรงงาน การกำจัดทำเสียก่อนปล่อยผ่านท่อสาธารณะสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ    ดังเช่น ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงานอุตสาหกรรม

2.บทบาทอำนวยความสะดวก (Facilitate) หน่วยงานรัฐสามารถกระตุ้นให้สิ่งจูงใจและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมกิจกรรม CSR เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส. ) ส่งเสริมเงินทุนวิจัย หรือ การสนับสนุนการจัดอบรมและสัมมนาเรื่องเกี่ยวกับ CSR

3. บทบาทให้ความร่วมมือ (Partnering) ภาครัฐสามารถมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการพัฒนา CSR โดยการจัดประชุมหรือประสานงานกับองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมเชิงวิชาการเพื่อปรับแนวทางการบริหารองค์กรหรือร่วมกันดำเนินกิจกรรม CSR
4.บทบาทให้ความรับรอง ( Endorsing) เป็นการสร้างการยอมรับหรือเชิดชูเกียรติ กิจการที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการมี CSR ทั้งในกระบวนการทำธุรกิจและการมีโครงการส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การให้รางวัล CSR Awards เป็นต้น

สำหรับการบริหารงานความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนมี 3 ลักษณะ คือ

1) CSR in process  กิจกรรม CSR “ฝังไว้” ในกระบวนการทำงานหรือการผลิต การบริการ หน่วยงานเพื่อลดการสูญเสีย การก่อให้เกิดมลพิษการดูแลคุณภาพชีวิต การทำงานและความปลอดภัยของบุคลากร การปฏิบัติตามจรรยาบรรณในวิชาชีพ

2) CSR after process กิจกรรมจิตอาสา เพื่อผู้มีส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้องโดยสอดคล้องกับพันธกิจและค่านิยมหลักขององค์การหรือตรงตามความต้องการ การคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียหรือร่วมกิจกรรมสาธารณกุศล

3) CSR as process กิจกรรม CSR ของหน่วยงานที่มีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิ ให้ทุนสนับสนุนองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ไม่แสวงหากำไรจัดขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อกลุ่ม เป้าหมาย

และปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารความรับผิดชอบต่อสังคม CSR ของส่วนราชการ ได้แก่ 1) การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูงในองค์การ 2) การสร้างเครือข่ายการทำกิจกรรม CSR กับหน่วยงานภายนอก และ 3) การเสริมสร้างองค์ความรู้ด้าน CSR แก่ พนักงานของรัฐ

Key Words ขององค์ความรู้

CSR

ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับองค์ความรู้นี้

บทบาทในการจัดการเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่ธนาคารโลกกล่าวถึง สำนักงานฯดำเนินการทั้ง ๔ บทบาท เช่น บทบาทภาคบังคับ การกำหนดให้โครงการที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องดำเนินการจัดทำรายงาน EIA บทบาทอำนวยความสะดวก สำนักงานมีกองทุนสิ่งแวดล้อมในการสนับสนุนภาคเอกชน NGOดำเนินโครงการในการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

การดำเนินการ CSR ของ สผ. ควรมุ่งเน้นกิจกรรม CSR ทั้ง CSR in process ที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจและค่านิยมหลักของหน่วยงาน มีการจัดสรรงบประมาณ แผนงาน โครงสร้างรองรับ ควบคู่กับ CSR after process ที่เกี่ยวข้องกับ ค่านิยมหลัก และภารกิจของสผ. และดำเนินการร่วมกับเครือข่าย เพื่อสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

แหล่งที่มา

1. CSRภาครัฐ ระบบราชการจำเป็นต้องมี โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 4 ก.ย. ๕๒

2. การศึกษาแนวปฏิบัติการบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงาน ภาครัฐของไทย ของ วีระวัฒน์ ปันนิตามัย และประจักษ์ ทรัพย์มณี

3. รัฐ เกี่ยวอะไรกับ CSR ใน www.thaicsr.com

ไฟล์และสื่อประกอบ

Comments are closed.