๗. ปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน และวิธีการแก้ไข

           ๗.๑   ระยะเวลาในการเสนอเอกสารต่าง ๆ ก่อนการจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลก ในบางกรณีต้องมีการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ดังนั้น จะต้องวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ รัดกุม และทันต่อกรอบเวลา

           ๗.๒   การเสนอแหล่งเป็นมรดกโลก ประเด็นสำคัญ คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จำเป็นต้องมีกระบวนการปรึกษาและแจ้งล่วงหน้า เพื่อรับทราบความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคระหว่างการนำเสนอแหล่งเป็นมรดกโลก

๘. เทคนิคที่จะทำให้สามารถปฏิบัติงานนี้ได้ดี

          ๘.๑   เน้นการทำงานเป็นทีม และวางแผนการทำงานเชิงรุก ซึ่งเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ๘.๒   เตรียมการหารือกับคณะทำงานฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกจะจัดขึ้น

          ๘.๓   การเป็นกรรมการมรดกโลกถือเป็นบทบาทที่สำคัญ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เนื่องจากทำให้มีโอกาสในการชี้แจง และ/หรือ ทักท้วงอย่างทันท่วงทีต่อคณะกรรมการมรดกโลก และ/หรือ ศูนย์มรดกโลก และ/หรือ องค์กรที่ปรึกษา ในระหว่างการประชุมที่มีการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ดังนั้น การได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการมรดกโลกจึงเป็นการสร้างโอกาสที่สำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันแหล่งที่มีศักยภาพของไทย เข้าสู่การเป็นแหล่งมรดกโลก รวมทั้งแหล่งมรดกโลกที่มีภัยคุกคามที่ต้องจัดทำรายงานสถานภาพการอนุรักษ์ (State of Conservation, SOC) ตามมติของคณะกรรมการมรดกโลก