ชื่อองค์ความรู้  : การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : 

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :
กลุ่มงาน : วิเคราะห์มาตรการ
กอง :

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

โทรศัพท์ : ๐ ๒๒๖๕ ๖๖๑๒
E-mail :

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

นำเสนอแนวคิดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

Key Words ขององค์ความรู้

การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

SCP

สาระสำคัญขององค์ความรู้

แนวคิดการใช้ทรัพยากรและการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Resource Efficient and Cleaner Production: RECP)

            RECP เป็นแนวคิดที่ UNIDO และ UNEP ร่วมกันส่งเสริมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต การใช้ผลิตภัณฑ์ และการบริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ๗ ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม ต้นทุนทางทรัพยากร การค้า การเงิน การศึกษา และการพัฒนาเทคโนโลยี และแนวทางปฏิบัติ ๔ ด้าน ได้แก่ การสร้างความตระหนักรู้แก่ทุกภาคส่วน การนำแนวปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จหรือเทคโนโลยีไปปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ฝึกอบรมหรือเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสนับสนุนการเริ่มต้นปฏิบัติจริง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและประสิทธิภาพการดำเนินงานเพิ่มขึ้น

            การขยายผลแนวคิด RECP จะต้องทำให้เป็นกระแสหลัก (Mainstreaming) ในการดำเนินงานของทั้งภาครัฐและเอกชน และขยายเพิ่ม (Scaling up) โดยส่งเสริมให้ใช้แนวคิด RECP เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านเครื่องมือ ๒ ประการ ได้แก่ Domesticate RECP คือ การสื่อสารภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนรู้ เพื่อให้บุคลากรเข้าใจและให้ความสำคัญกับแนวคิด RECP อย่างแท้จริง และ Reward RECP โดยการสร้างนโยบายและแผนการดำเนินการที่มีความสอดคล้องกับแนวคิด RECP  

            นอกจากนี้ ยังต้องดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีความ สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการดำเนินการของภาครัฐ และมีความสอดคล้องกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนใน ๖ ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน แนวทางปฏิบัติต่อพนักงาน ผู้บริโภค การมีส่วนร่วมของชุมชน และการดำเนินการที่เป็นธรรม ทั้งนี้ ความเชื่อใจ (trust) เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมาก เนื่องจาก ความร่วมมือและการยินยอมปฏิบัติตาม (compliance) เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้นโยบายประสบผลสำเร็จ ผู้กำหนดนโยบายต้องไตร่ตรองให้รอบด้าน โดยคำนึงถึงวิธีการที่จะให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มดำเนินการตามนโยบาย

การขยายผลการดำเนินงานการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

            การดำเนินงานตามนโยบายต่าง ๆ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนและโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความท้าทายหลายประการ ทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินมีข้อจำกัด ขาดความชำนาญในการขยายการลงทุนของผู้ประกอบการมีจำกัด และความเสี่ยงจากการลงทุน ดังนั้น การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน และการลดความเสี่ยงจากการลงทุน ผ่านการดำเนินงาน ๓ ด้าน ได้แก่

(๑) การเสริมสร้างศักยภาพและการเผยแพร่ข้อมูล การฝึกอบรมด้านวิธีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างโปร่งใส และการจัดตั้งศูนย์ข้อมูล

(๒) การสร้างองค์กรควบคุมมาตรฐาน ออกใบอนุญาต ควบคุมสิทธิการเข้าถึงข้อมูล และออกกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ

(๓) การสร้างเครื่องมือทางการตลาด เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางการเงิน ช่องทางการจัดจำหน่าย 

            แหล่งเงิน แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่
(๑) ตลาดเงิน (capital market) ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์

(๒) แหล่งเงินสำหรับโครงการเฉพาะด้าน (country-specific innovative financing) เช่น กองทุนน้ำมัน

(๓) แหล่งเงินสำหรับโครงการเพื่อการพัฒนา (concessional and development finance) เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ
(๔) แหล่งเงินจากความร่วมมือระหว่างประเทศ (public funding sources) เช่น กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก

ไฟล์และสื่อประกอบ

ภาพ/ภาพเคลื่อนไหว/ไฟล์เสียง File :Word/Powerpoint/PDF/ Infographic Mind Map อื่น ๆ………………………………………………………………………

Comments are closed.