ชื่อองค์ความรู้  : การประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจ

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : ๒๕. กรกฎาคม ๒๕๖๐
 

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :

นางสาวศิริวรรณ ลาภทับทิมทอง

กลุ่มงาน : กลุ่มงานติดตามประเมินผลนโยบายและแผน
กอง :

สำนักติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

โทรศัพท์ :

๐๒ ๒๖๕ ๖๕๐๐ ต่อ ๖๗๒๓

E-mail : siriwanying_l@hotmail.com

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

เพื่อเผยแพร่ความรู้ใน “การประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจ” และนำความรู้ในเรื่องดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

Key Words ขององค์ความรู้

การประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจ

สาระสำคัญขององค์ความรู้

๑. แนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ

การประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ดำเนินการตาม

– มาตรา ๒๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖

– มติคณะรัฐมนตรี (๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖)

โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณ ได้จัดทำเอกสารแนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นแนวทางการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง และใช้เป็นกรอบในการจัดทำรายงานผลการประเมินความคุ้มค่าของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนการปฏิบัติภารกิจ และการจัดตั้งงบประมาณสำหรับปีงบประมาณต่อไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒. ความหมายของการประเมินความคุ้มค่า หมายถึง การประเมินการดำเนินภารกิจของภาครัฐเพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้ ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งผลสำเร็จที่พึงประสงค์ และผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนและสังคม ทั้งที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้

๓. กรอบการประเมินความคุ้มค่า เพื่อให้การประเมินความคุ้มค่าเป็นเครื่องมือใช้ประกอบการพิจารณาทางเลือกในการปฏิบัติภารกิจที่ก่อประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด การประเมินจึงให้ความสำคัญกับประเด็นการทำงานใน ๓ มิติ ได้แก่ มิติประสิทธิผล ควบคู่ไปกับมิติประสิทธิภาพ และมิติผลกระทบ ดังนี้

– ประสิทธิผลการปฏิบัติภารกิจ เป็นการประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการปฏิบัติภารกิจ โดยเปรียบเทียบผลที่ได้รับจากการปฏิบัติภารกิจว่ามีความสอดคล้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่คาดไว้ว่าจะได้รับที่กำหนดไว้ก่อนดำเนินการหรือไม่ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด 2 ด้าน ได้แก่ การบรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติภารกิจ และความพึงพอใจต่อผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลผลิตหรือบริการ

– ประสิทธิภาพการปฏิบัติภารกิจ หมายถึง การประเมินความเหมาะสมสอดคล้องของการใช้ทรัพยากรและกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตตามวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาจากผลผลิตเทียบกับต้นทุนทั้งหมด การจัดหาทรัพยากรที่ได้มาตรฐาน มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม รวมทั้งมีกระบวนการทำงานที่ประหยัดทรัพยากร ทั้งนี้ ตัวชี้วัดมี 2 ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพการผลิต และการประหยัด

– ผลกระทบ หมายถึง ผลอันสืบเนื่องจากการปฏิบัติภารกิจ ทั้งที่คาดหมายหรือตั้งใจ และไม่ได้คาดหมาย ทั้งที่เกิดขึ้นระหว่างและภายหลังการปฏิบัติภารกิจ ที่อาจกระทบต่อการพัฒนาในมิติอื่น หรือการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานอื่น หรือประชาชนทั้งที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มอื่น ทั้งในและนอกพื้นที่ การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามภารกิจภาครัฐ ครอบคลุมถึงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ ในมิติที่สามารถประเมินในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบในกรณีที่ไม่ได้ดำเนินงานตามภารกิจภาครัฐด้วย

๔. ขั้นตอนการประเมินความคุ้มค่า

– ทบทวนผลผลิตของหน่วยงาน

– ทบทวนและกำหนดตัวชี้วัดและความสมบูรณ์ของข้อมูล

– กำหนดผลตอบแทนและค่าใช้จ่าย

– สรุปผลการประเมินความคุ้มค่า

– จัดทำข้อเสนอแนะจากการประเมินความคุ้มค่า

๕. ตัวชี้วัดการประเมินความคุ้มค่า ประกอบบด้วย

ภารกิจ

ตัวชี้วัดหลัก

ตัวชี้วัดเพิ่มเติม

บริการสาธารณะ

(ประชาชนได้ประโยชน์โดยตรง)

ประสิทธิภาพ

–  ต้นทุนต่อหน่วย

–  สัดส่วนผลผลิตต่อทรัพยากร

–  สัดส่วนค่าใช้จ่ายจริงต่อค่าใช้จ่ายตามแผน

ประสิทธิผลของค่าใช้จ่าย

(Cost Effectiveness)

บริการด้านการพัฒนาและความมั่นคง

(ประชาชนได้ประโยชน์โดยอ้อม)

ประสิทธิผล

–  ความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย

–  ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ประโยชน์

–  คุณภาพการบริการ

 

ผลกระทบ

–  ต่อประชาชน

–  ต่อเศรษฐกิจ

–  ต่อสังคม

–  ต่อสิ่งแวดล้อม

–  ต่อการเมือง

 

ผลสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ

–  ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ (PART)

ภารกิจที่เป็นโครงการ

ประเมินทั้ง ๔ ประเด็น

Benefit-Cost Ratio

ไฟล์และสื่อประกอบ

Comments are closed.