ชื่อองค์ความรู้  : การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : เมษายน พ.ศ. 2557

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :  …………………………………………………………
กลุ่มงาน :  ความมั่นคงทางชีวภาพ
กอง :  ประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โทรศัพท์ :  02-2656562
E-mail :  tjunpet@gmail.com

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

สร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ตามภารกิจการประสานการอนุวัตและติดตามการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญา พิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค

Key Words ขององค์ความรู้

การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์, อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ, Access and benefit-sharing: ABS

สาระสำคัญขององค์ความรู้

            ในหลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับทรัพยากรชีวภาพและตระหนักถึงภาวะที่ทรัยากรชีวภาพกำลังถูกคุกคาม จนบางชนิดอยู่ในสถานภาพที่สูญพันธุ์ไปแล้ว จนเกิดเป็นข้อตกลงร่วมกันภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยวัตถุประสงค์หนึ่งมุ่งเน้นเพื่อการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม หมายถึง การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงสิทธิทั้งหมดเหนือทรัพยากรและเทคโนโลยีและโดยการสนับสนุนอย่างเหมาะสม นำไปสู่มาตรา 15 การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม และมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรา 8 (เจ) มาตรา 16 17 18 19 (ย่อหน้า 1 และ 2) 20 และ 21 โดยมีพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมเป็นความก้าวหน้าในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว สำหรับการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ด้านทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทยมีกฎหมายและระเบียบ รวมทั้งกระบวนการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ครอบคลุมพันธุ์พืช เห็ด และสาหร่าย โดยมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา 52 และ 53 มาตรา 52 ผู้ใดเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืช ดังกล่าว เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลอง หรือวิจัย เพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ โดยให้นำเงินรายได้ตามข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ส่งเข้ากองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย มาตรา 53 ผู้ใดศึกษา วิจัย ทดลอง พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าวที่มิได้มีวัตถุประสงค์ทางการค้า ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
  2. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 มาตรา 19 ครอบคลุมพืชสัตว์ จุลินทรีย์ ที่เป็นสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์สมุนไพรมาตรา 19 ผู้ใดประสงค์จะนำตำรับยาแผนไทยของชาติไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยาและขออนุญาตผลิตยาตามกฎหมายว่าด้วยยา หรือนำไปทำการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาเป็นตำรับยาใหม่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า หรือประสงค์จะทำการศึกษาวิจัย ตำราการแพทย์แผยไทยของชาติเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาภูมิปัญหาการแพทย์แผนไทยขึ้นใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้า ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตใช้ประโยชน์ และชำระค่าธรรมเนียม รวมทั้งค่าตอบแทนสำหรับการใช้ประโยชน์ดังกล่าวต่อผู้อนุญาตระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการได้รับประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554 โดยมีกลไกในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ ประกอบด้วย 1) การยื่นคำขอเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ ตามแบบที่ กอช. กำหนด 2) พิจารณาคำขอภายใน 90 วัน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความเห็น) 3) เมื่อมีการอนุญาตให้เข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ ผู้ยื่นคำขอฯ ต้องส่งแผนงานโครงการ ฉบับสมบูรณ์ ภายใน 30 วัน 4) จัดทำข้อตกลงในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ 5) ออกหนังสืออนุญาต ตามแบบที่ กอช. กำหนด และ 6) ตรวจสอบ ติดตาม และรายงานผลต่อ กอช.
  3. แนวทางในการขออนุญาตและกระบวนการให้อนุญาตเพื่อการศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการในพื้นที่อนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

 

สำหรับสิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้อะไรก่อนการขออนุญาตเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ

  1. วัตถุประสงค์ในการเข้าถึงคืออะไร
  2. ทรัพยากรพันธุกรรม ทรัพยากรชีวภาพ หรือความรู้ตามธรรมเนียมประเพณีที่ต้องการเข้าถึงคืออะไร
  3. การเข้าถึงจะกระทำการที่ใด
  4.  หน่วยงานหรือผู้ได้รับมอบอำนาจให้อนุญาตเข้าถึงคือใคร/หน่วยงานใด
Comments are closed.