คู่มือการออกหนังสือรับรองโครงการ (No-Objection Letter: NOL) ของกองทุน Green Climate Fund (GCF)

บทนำ

      ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับโลก และประเทศไทยก็กำลังเผชิญกับความท้าทายนี้อยู่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ผลักดันนโยบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ

      สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายตาม มติ ครม. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 ให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยชำนัญการระดับประเทศ (National Designated Authority: NDA) ของกองทุน Green Climate Fund (GCF) ประเทศไทย ซึ่งกองทุน GCF นี้เป็นกลไกทางการเงินภายใต้อนุสัญญา UNFCCC เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของประชาคมโลกสู่การพัฒนาที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และเพิ่มภูมิต้านทานและความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

      สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะ NDA ของกองทุน GCF ประเทศไทย มีบทบาทหนึ่งที่สำคัญในการสร้างกลไกสนับสนุนการยื่นเสนอโครงการ หรือที่เรียกว่าหนังสือรับรองโครงการ (No-Objection Letter: NOL) เพื่อใช้ในการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุน GCF ซึ่งขั้นตอนรายละเอียดการออกหนังสือ NOL สามารถพบได้ในคู่มือฉบับนี้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจขั้นตอนการออกหนังสือรับรองNOL
  2. สามารถใช้เป็นหลักปฏิบัติในการออกหนังสือรับรอง NOL อย่างถูกต้องชัดเจน

สรุปสาระสำคัญ 

      สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 ให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยชำนัญการระดับประเทศ (National Designated Authority: NDA) ของกองทุน Green Climate Fund (GCF) ประเทศไทย ซึ่งมีบทบาทหนึ่งที่สำคัญในการสร้างกลไกสนับสนุนการยื่นเสนอโครงการ หรือที่เรียกว่าหนังสือรับรองโครงการ (No-Objection Letter: NOL) เพื่อใช้ในการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุน GCF

สาระสำคัญ

      สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 ให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยชำนัญการระดับประเทศ (National Designated Authority: NDA) ของกองทุน Green Climate Fund (GCF) ประเทศไทย ซึ่งกองทุน GCF นี้เป็นกลไกทางการเงินภายใต้อนุสัญญา UNFCCC เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของประชาคมโลกสู่การพัฒนาที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และเพิ่มภูมิต้านทานและความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะ NDA ของกองทุน GCF ประเทศไทยมีบทบาทหนึ่งที่สำคัญในการสร้างกลไกสนับสนุนการยื่นเสนอโครงการ หรือที่เรียกว่าหนังสือรับรองโครงการ (No-Objection Letter: NOL) เพื่อใช้ในการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุน GCF ซึ่งขั้นตอนรายละเอียดการออกหนังสือ NOL ดังปรากฏอยู่ในคู่มือฉบับนี้

องค์ความรู้ที่ต้องใช้ในการทำงานให้สำเร็จ

      แผน และ/หรือ นโยบายต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการจัดทำกรอบในการพิจารณาโครงการ (Country Programme) ได้แก่

  • ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี 
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 
  • แผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2593
  • แผนการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศไทย (Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMA)
  • (ร่าง) แผนที่นำทางการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดขึ้นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Nationally Determined Contribution: NDC Roadmap)
  • (ร่าง) แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Adaptation Plan: NAP)
  • แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยี
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย (Sustainable Development Goals: SDGs)

ประเด็นสำคัญของเรื่อง

  • Green Climate Fund (GCF)
  • Country Programme
  • หนังสือ No-Objection Letter (NOL)

ดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI)

      ปัจจุบัน เรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ยังไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดผลงาน (KPI) ของ สผ. แต่ได้รับการพิจารณาให้บรรจุและกำหนดเป็นตัวชี้วัดใหม่ของ สผ. ต่อไป

ขั้นตอนปฏิบัติในการดำเนินการออกหนังสือ NOL

  1. รับข้อเสนอโครงการจากหน่วยงานที่รับรองโดยกองทุน (Accredited Entity: AE) 
  2. พิจารณาข้อเสนอโครงการตามแนวทางของกรอบCountry Programe
  3. นำข้อเสนอโครงการผ่านคณะกรรมการ3 ชุด พิจารณารับรองตามลำดับ ได้แก่ (1) คณะทำงานกลั่นกรองข้อเสนอโครงการ (2) คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผน (3) คณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
  4. จัดทำหนังสือNOL
  5. เสนอหนังสือ NOL ต่อสำนักงานเลขาธิการกองทุน GCF

อธิบายวิธีการปฏิบัติ

  1. รับข้อเสนอโครงการจากหน่วยงานที่รับรองโดยกองทุน (Accredited Entity: AE)
  2. พิจารณาข้อเสนอโครงการว่าตรงตามกรอบCountry Programe ของประเทศหรือไม่อย่างไร โดยวิธี Check List
  3. นำข้อเสนอโครงการผ่านเข้าคณะกรรมการที่มีทั้ง 3 ชุด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นและรับรองตามลำดับ ได้แก่ (1) คณะทำงานกลั่นกรองข้อเสนอโครงการ (2) คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการบูรณาการนโยบายและแผน และ (3) คณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
  4. จัดทำหนังสือNOL โดยปลัดกระทรวงฯ เป็นผู้ลงนาม
  5. จัดส่งหนังสือNOL ให้สำนักงานเลขาธิการกองทุน GCF

ปัญหา/อุปสรรค

  • ความล่าช้าในการจัดทำกรอบ Country Programe ซึ่งมีหลายภาคส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ความพร้อมและระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาข้อเสนอโครงการโดยคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด อาจก่อให้เกิดเป็นความล่าช้าไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

เทคนิค

      มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และความเข้าใจ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวให้กับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

การออกหนังสือรับรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน Green Climate Fund (GCF) ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

    แสดงความคิดเห็น

    กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น