ชื่อองค์ความรู้  : ภาคีเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เผยแพร่ : ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้/หน่วยงานเจ้าของความรู้

ชื่อ-นามสกุล :

๑. น.ส. สุนิสา ประดับราช  นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ

๒. น.ส. ชนินาถ สุขเจริญ    เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

กลุ่มงาน : กลุ่มงานจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
กอง :

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

โทรศัพท์ : ๖๗๕๕
E-mail :

อธิบายความเชื่อมโยงขององค์ความรู้นี้กับภารกิจของสำนัก/กอง/กลุ่ม

“หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น” เป็นภาคีเครือข่ายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมที่สำคัญ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๗  เห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยมีหลักการให้ท้องถิ่นตระหนักและทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในหน้าที่รับผิดชอบดูแลในการอนุรักษ์รักษา ปกป้อง คุ้มครองสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เนื่องจากความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับตัวแหล่งศิลปกรรมนั้น มีทั้งที่เสื่อมโทรมตามกาลเวลาและตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ความเสื่อมโทรมอันเนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ เป็นสาเหตุของการทำลายที่มีความรุนแรง รวดเร็วและเกิดขึ้นตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ การอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ผ่านมาจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร  ทั้งนี้ เป็นเพราะขาดการคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ และขาดความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นอย่างจริงจัง  ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และถูกวิธีเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม รวมทั้งการกระจายความรับผิดชอบไปสู่ท้องถิ่น โดยการจัดตั้ง “หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น” เพื่อเป็นการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ทั้งยังเป็นเครือข่ายด้านการอนุรักษ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทั่วประเทศ และให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและประเทศ รวมทั้งตอบสนองการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

Key Words ขององค์ความรู้

ภาคีเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

สาระสำคัญขององค์ความรู้

๑. บทบาทของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

๒. ภารกิจในปัจจุบันของหน่วยอนุรักษ์ฯ

๓. ตัวอย่างผลการดำเนินงานของหน่วยอนุรักษ์ฯ

Comments are closed.