https://drive.google.com/file/d/1D879xAhVYjMqjZ3Qd9vV3DDoHZiJk-0u/view?usp=sharing

1.ความสำคัญและความเป็นมา

          ความสำคัญของย่านชุมชนเก่า

     ประเทศไทยมีย่านที่อยู่อาศัยดั้งเดิม เรียกโดยทั่วไปว่า ย่านชุมชนเก่ากระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศย่านชุมชนเก่าส่วนใหญ่มีอายุไม่น้อยกว่าห้าสิบปี บางแห่งมีอายุนับร้อยปี ย่านชุมชนเก่าจัดได้ว่าเป็นศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ประเภทหนึ่ง เป็นสัญลักษณ์ของอดีตที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับการตั้งถิ่นฐานของไทยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นพื้นที่ที่แสดงให้เห็นเค้าโครงของชุมชนเมืองและสะท้อนถึงวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตที่ประกอบไปด้วยอาคารที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมเฉพาะ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม  องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้เมืองแต่ละแห่งมีความเป็นเอกลักษณ์ ย่านชุมชนเก่าจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเมือง ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม การวางผังเมือง รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของเมืองนั้นๆ รวมถึงยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศจำนวนมาก

    ปัจจุบัน ย่านชุมชนเก่าหลายแห่งกำลังประสบปัญหา และมีแนวโน้มจะถูกเปลี่ยนแปลงในอนาคตตามกระแสการพัฒนา  โดยสาเหตุหลักนั้นมาจากการขาดความตระหนักในความสำคัญและคุณค่าของย่านชุมชนเก่า และขาดองค์ความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า จากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานส่วนท้องถิ่นและชุมชนเจ้าของพื้นที่ จึงทำให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นในเขตย่านชุมชนเก่าไม่สอดคล้องกับบริบทย่านชุมชนเก่า  เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกลไกในการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านองค์ความรู้ ด้านกฎหมาย ด้านหน่วยงานรับผิดชอบ

กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม จึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการริเริ่มดำเนินการเรื่องการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าอย่างจริงจังให้เป็นระบบที่ชัดเจน เป้าหมายสูงสุดคือ เพื่อให้ย่านชุมชนเก่าซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ควบคู่ไปกับการพัฒนา ในรูปแบบที่ซึ่งประโยชน์ใช้สอยปัจจุบันสามารถไปได้อย่างกลมกลืนกับการรักษาความสมดุลของพื้นที่  จึงมีการวางแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยเริ่มจากการดำเนินการเพื่อวางรากฐานสร้างความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของย่านชุมชนเก่า และสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา โดยมีความเป็นมาของโครงการ ดังนี้

  1. พ.ศ. 2554-2558 มีการจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า และทะเบียนย่านชุมชนเก่าในทุกภาคของประเทศ เพื่อให้ท้องถิ่นและชุมชนแต่ละย่าน สามารถนำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า ไปใช้ในการยกระดับความเป็นย่านชุมชนเก่าอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ ได้มาตรฐานที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และระดับความต้องการของคุณภาพชีวิตของแต่ละชุมชน รวมทั้ง ให้มาตรฐานดังกล่าวฯ เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยท้องถิ่นให้บริหารจัดการพื้นที่ย่านชุมชนเก่าของตนไปในแนวทางที่ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญ สามารถนำไปสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงวัฒธรรมอย่างยั่งยืนให้มีคุณค่าได้
  2. พ.ศ. 2559 เป็นการดำเนินงานต่อยอดขยายผล โดยการนำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อผลเชิงประจักษ์ และเป็นต้นแบบในการดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป โดยได้มีการคัดเลือกพื้นที่ตัวอย่าง เพื่อดำเนินโครงการ ได้แก่ ย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

 

  1. วัตถุประสงค์
  2. นำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เป็นต้นแบบ สำหรับย่านชุมชนเก่าอื่นๆต่อไป
  3. เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการขับเคลื่อนย่านชุมชนเก่าของตน เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า ในลักษณะที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ในลักษณะหุ้นส่วน ระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง และหน่วยงานส่วนท้องถิ่นกับชุมชน เป็นหลัก

 

  1. กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงานของวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

    ในการดำเนินงานได้มีแนวคิด วิธีการ ในการดำเนินงานเพื่อให้เห็นผลเชิงประจักษ์ ดังนี้

          แนวคิดสำคัญที่ใช้ในการดำเนินโครงการ  3 ประการ ได้แก่

  1. การร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ให้ความสำคัญในเรื่องความเป็น

หุ้นส่วน (partnership) เน้นการดำเนินงานที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นฐานหลักร่วมกับชุมชน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการฯ และกระตุ้นให้เกิดการสานต่อการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าในบริบทอื่นๆต่อไป

  1. การสร้างความตระหนัก ความรู้ค่าในเอกลักษณ์ของย่านแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์

ความรู้สึกเป็นเจ้าของในต้นทุนทางวัฒนธรรมของตน และนำไปสู่ร่วมสร้างเป้าหมายจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนและท้องถิ่น ในการนำพาชุมชนไปสู่การจัดการตนเองในวิถีทางแห่งการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

  1. ใจแลกใจ สำนักงานฯ เทศบาลฯ ชุมชน (ผู้นำชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น) และวัด ร่วมมือกันดำเนิน

โครงการอย่างจริงใจ ภายใต้ความเป็นธรรม โปร่งใส เห็นแก่ประโยชน์สาธารณะ ก่อเกิดมิตรภาพระหว่างหน่วยงาน ผ่านการสื่อสาร และลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

 

นอกเหนือจากแนวคิดข้างต้นแล้ว ยังมีการนำประสบการณ์ บทเรียนจากการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ที่ผ่านมา มาร่วมใช้ในการดำเนินงานในครั้งนี้ด้วย ได้แก่

  1. การดำเนินงานด้านอนุรักษ์ ใช้ระยะเวลาในการเห็นผลเป็นรูปธรรม เกี่ยวข้องกับบุคคลหลาย

กลุ่ม บางกรณีเกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์ ต้องพยายามสร้างความเข้าใจด้วยการฉายภาพตัวอย่าง กรณีศึกษาต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ และการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจ ซึ่งต้องการเวลาและความต่อเนื่องจนตกผลึก โดยอาจไม่จำเป็นต้องครบถ้วนทุกคนแต่ต้องครอบคลุมทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน

  1. การอนุรักษ์ เป็นเรื่องกระแส ดังนั้นการทำงานด้านนี้จึงมีลักษณะต้องปลุกกระแส สร้างจิตสำนึก

ชุมชนรักบ้านเกิด ให้เห็นถึงคุณค่า ประโยชน์ ความหวงแหน ใช้พลังชุมชนในการขับเคลื่อน แปรรูปจากคุณค่าสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ

  1. การประชาสัมพันธ์ เป็นสิ่งสำคัญ เป็นกลยุทธ์เชิงรุกสำหรับการเผยแพร่ ขยายผล สร้างพันธมิตร

ในระยะยาว

 กระบวนการขั้นตอนการดำเนินงาน  

 เนื่องจากโครงการนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำไปสู่การปฏิบัติ จึงมีการดำเนินงานเพื่อสร้างระบบและกลไกเพื่อให้เกิดการการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ริเริ่มโครงการจนจบโครงการ โดยมีรูปแบบการดำเนินโครงการในลักษณะหุ้นส่วน ระหว่างสำนักงานฯ และท้องถิ่น (ชุมชนในเขตย่านชุมชนเก่า/เทศบาลตำบลท่าอุเทน) และร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ดังนี้

  1. ขั้นเริ่มโครงการ : กธศ. จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจโครงการให้เห็นเป้าหมายเดียวกัน ในขั้นนี้วิธีการสร้างการมีส่วนร่วมกระทำโดย วิเคราะห์ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่โครงการทั้งทางตรงและทางอ้อม แบ่งเป็นภาคราชการ ภาคประชาชน และกลุ่มเครือข่าย เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน สร้างความเข้าใจ และขอความร่วมมือในการดำเนินงาน ซึ่งในระหว่างดำเนินโครงการมีการทบทวนผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการเพื่อให้ครอบคลุม เข้ามามีส่วนร่วม และมาอย่างสมัครใจ ให้มากที่สุด 

                 การดำเนินการเพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในขั้นนี้ : ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การจัดเวทีทั้งรูปแบบทางการและไม่ทางการ (การพบปะตัวต่อตัว การจัดหารือกลุ่มย่อย การจัดเวทีเสวนา การจัดประชุมร่วม จัดประชุมระดมความเห็น ) และการเดินสำรวจพื้นที่ร่วมกัน เพื่อเปิดโอกาส กระตุ้น ส่งเสริม ให้เกิดการพบปะ พูดคุย หารือ แสดงความเห็น แลกเปลี่ยนแนวคิด ระหว่าง ชุมชน (ผู้นำชุมชน  ปราชญ์ชาวบ้าน) นักวิชาการ ส่วนราชการ  โดยสามารถสรุปการดำเนินงานได้ดังนี้

๑) สำนักงานฯ และเทศบาลตำบลท่าอุเทน ดำเนินการจัดให้มีการพบปะตัวต่อตัว การจัด

เวทีเสวนา การเดินสำรวจพื้นที่ร่วมกัน เพื่อให้ชุมชนได้พบปะ พูดคุย หารือ แสดงความเห็น แลกเปลี่ยนแนวคิด  สร้างความเข้าใจ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความรู้สึกตระหนักในคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมของตน นำมาซึ่งความรู้สึกร่วม ความเป็นทีมเดียวกัน

๒) สำนักงานฯ นำเสนอองค์ความรู้ในเรื่องย่านชุมชนเก่า ได้แก่ ความสำคัญ ความจำเป็นในการบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า และกระตุ้นให้ท้องถิ่น (เทศบาลตำบลท่าอุเทน / ชุมชนในเขตย่านชุมชนเก่า ) ช่วยกันแสดงความเห็นจากประสบการณ์ที่เป็นผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ระหว่างการร่วมแสดงความเห็น

  • ชุมชนได้ร่วมคิด รับรู้ วิเคราะห์ปัญหา แสดงความเห็น ในประเด็นความสำคัญของย่าน

ชุมชนเก่าท่าอุเทน เอกลักษณ์ของย่าน ปัญหาของย่าน ความต้องการของชุมชนในแง่มุมของการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน แนวทางในการอนุรักษ์ในอนาคต  ซึ่งทั้งหมดเป็นข้อมูลที่นำไปใช้และบรรจุอยู่ในแผนจัดการฯ

  1. ขั้นการนำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่าไปสู่การปฏิบัติ สำนักงานฯ และท้องถิ่น (ชุมชนในเขตย่านชุมชนเก่า/เทศบาลตำบลท่าอุเทน) ร่วมดำเนินการ โดยสำนักงานฯ ทำหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุน ส่งเสริม ให้องค์ความรู้ และให้คำปรึกษา เทศบาลตำบลท่าอุเทน ทำหน้าที่ ประสานงาน อำนวยความสะดวกในการดำเนินการให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ประชาชนในชุมชนเขตย่านชุมชนเก่า เข้าร่วมในการให้ข้อมูล ให้ความเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำกิจกรรมร่วมกัน ในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางร่วมกัน เพื่อให้ย่านชุมชนเก่าท่าอุเทนได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและยั่งยืนตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า  โดยมีวิธีการสร้างให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในขั้นนี้ ได้แก่
    • สื่อสาร ทำความเข้าใจ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งรูปแบบทางการและไม่ทางการ ได้แก่ พบปะ

ตัวต่อตัว การจัดหารือกลุ่มย่อย การเดินสำรวจร่วมกัน จัดเวทีเสวนา เวทีแลกเปลี่ยนแนวคิด จัดประชุมร่วม จัดประชุมรับฟังความเห็น สื่อสารทำความเข้าใจในรูปแบบเสียงตามสายของเทศบาล โดยระยะเวลาและสถานที่จัดนั้น ยึดตามความสะดวกของชุมชนในพื้นที่เป็นหลัก อาทิเช่น หารือพร้อมรับประทานอาหารเย็น หรือในวันหยุด ซึ่งไม่เน้นตามเวลาราชการ

  • สร้างความเป็นเจ้าของ ความรู้สึกร่วม ให้เกิดความรู้สึกอยากเข้ามารับรู้ จนถึงระดับเข้ามา

มีส่วนร่วม และอาสาสมัคร

  • เน้นให้ท้องถิ่น ซึ่งหมายถึง ชุมชนและเทศบาล กำหนดกติกา แนวทาง วิธีการขับเคลื่อน และลงมือปฏิบัติร่วมกัน เพื่อผลผลิตที่ได้ถือเป็นของส่วนรวมของท้องถิ่น

โดยมีการดำเนินการจัดทำแผนจัดการการอนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมย่านชุมชนเก่า         ท่าอุเทน  สรุปดังนี้

  • สำนักงานฯ และเทศบาลตำบลท่าอุเทน จัดให้มีการหารือกลุ่มย่อย จัดเวทีระดม

ความเห็น ในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมกัน 9 ครั้ง โดยสำนักงานฯ ทำหน้าที่เสนอแนะองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการอนุรักษ์ แสดงตัวอย่างเกี่ยวกับการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าให้เห็นภาพ ระบุประเด็นที่ควรคิด กระตุ้นให้ท้องถิ่น (ชุมชน/เทศบาล) ช่วยหาวิธีบริหารจัดการย่านชุมชนเก่าท่าอุเทนอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า  โดยมีเทศบาลตำบลท่าอุเทน ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ประสานงานการจัดประชุมทุกครั้ง

  • ในระหว่างระดมความเห็นทั้ง ๙ ครั้ง ท้องถิ่น (ชุมชนในเขตย่านชุมชนเก่า/เทศบาล

ตำบลท่าอุเทน) ได้ร่วมกันสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ร่วมกันสร้างกรอบการจัดทำแผนฯ บนหลักการที่ว่าสิ่งใดที่ปรากฎอยู่ในแผน ต้องอยู่บนพื้นฐานของสภาพความเป็นจริง เอื้อต่อการนำไปปฏิบัติต่อของหน่วยงานท้องถิ่น สอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิต และตั้งอยู่บนหลักการอนุรักษ์ แล้วจึงร่วมระดมความคิดเพื่อร่างแผนจัดการฯ โดยสร้างวิสัยทัศน์ของการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าท่าอุเทนขึ้น และร่วมกันคิดเป้าหมาย แนวทาง ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการที่จะบรรจุลงในแผนฯ จึงทำให้จำนวนแผนงานโครงการ มีปริมาณที่พอเหมาะที่ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับอัตลักษณ์ ความคงอยู่อย่างยั่งยืน และการยกระดับคุณภาพชีวิตของย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน ตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า และร่วมกันเห็นชอบร่างแผนที่ร่วมกันคิดขึ้น

  • เทศบาลได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับทราบแผนจัดการฯ เพื่อให้เกิดการบูรณา

การแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่ย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน ให้มีทิศทางและเป้าหมายหลักไปในทางเดียวกัน โดยอาจใช้เป็นข้อมูลหรือต่อยอดในส่วนภารกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครพนม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคนครพนม สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม  

  • สำนักงานฯ ได้นำแผนจัดการการอนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมย่านชุมชนเก่าท่า

อุเทนที่ท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดทำขึ้น ไปจัดทำในรูปแบบทั้งเอกสารและข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์สำหรับเผยแพร่  ตลอดจนเผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักงานฯ และสื่อ social media เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชุมชนและหน่วยงาน ตลอดจนเครือข่ายต่างๆ ในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างแพร่หลาย สำหรับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

๓. ขั้นการขับเคลื่อนแผนจัดการการอนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน สำนักงานฯ ทำหน้าที่ผู้เสนอแนะ ให้คำปรึกษาและสนับสนุน  โดยท้องถิ่น (ชุมชนในเขตย่านชุมชนเก่า/เทศบาลตำบลท่าอุเทน) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจัดประชุมระดมความเห็นภายในชุมชนร่วมกันพิจารณาเลือกโครงการในแต่ละแผนงานมาจัดทำเป็นโครงการต้นแบบ เมื่อได้โครงการแล้วจึงร่วมกันตัดสินใจวางรูปแบบการทำงาน โดยกำหนดให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกันจัดทำโครงการ ใช้วิธีอาสาสมัครจากความสมัครใจ และพัฒนาวิธีการวางแผนการทำงานในแต่ละโครงการจากประสบการณ์ ท้องถิ่นมีบทบาทในการ ร่วมกันคิดหาวิธีดำเนินงานในแต่ละโครงการตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนเสร็จโครงการ และร่วมลงมือปฏิบัติให้สำเร็จเห็นผลเป็นรูปธรรมในแต่ละโครงการ

        เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและขับเคลื่อนการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าต่อไปด้วยตนเอง ได้กำหนดโครงการต้นแบบ        5 โครงการ ได้แก่  1. การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน   2. การจัดทำเอกสารเผยแพร่   3. การสร้างสื่อออนไลน์ในชื่อภูมิ-มูนมัง   4. การอนุรักษ์ฟื้นฟูอาคารเก่าและเรือนพื้นถิ่น   5.การจัดตั้งเครือข่ายชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน

      โดยให้ความเห็นร่วมกันว่า โครงการที่ 1 ถึง 3 นั้น มีความจำเป็นเนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวความเป็นมา จึงเป็นการ “ทำความรู้จักกันก่อน” และเป็นการประชาสัมพันธ์ย่านชุมชนเก่าท่า       อุเทนในวงกว้าง ตามกลยุทธ์ที่สำนักงานฯ ได้วางไว้  ส่วนโครงการที่ 4 นั้น มีความจำเป็นเนื่องจาก อาคารเก่าและเรือนพื้นถิ่นเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเป็นย่านชุมชนเก่า ควรเก็บรักษา สำหรับโครงการที่ 5 นั้น ท้องถิ่นเห็นว่าเพื่อให้การดำเนินงานโครงการต้นแบบทั้งหมดเป็นไปอย่างมีระบบ และรองรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าด้วยตนเองในอนาคต จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งเครือข่ายเพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว

 

  1. ประโยชน์ที่ได้รับ

          เนื่องจากเป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ 2559  ประโยชน์ที่ได้รับจึงสามารถแบ่งออกได้เป็น    2 กลุ่มหลักคือ ประโยชน์โดยตรงแก่โครงการ และประโยชน์จากการนำไปเป็นต้นแบบ ดังนี้

          4.1 ประโยชน์โดยตรงแก่โครงการ

1) เกิดเป็นชุมชนต้นแบบ มีองค์ความรู้จากการดำเนินโครงการ มีโครงการต้นแบบเป็นตัวอย่าง

การเรียนรู้ที่ท้องถิ่นสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ กระบวนการ และประสบการณ์ด้านการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า และเปิดโอกาสให้ชุมชนอื่นๆเข้ามาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกัน

2) สร้างสมดุลทางสังคม ชุมชนมีความสุข เกิดพลังทางสังคม เกิดความภาคภูมิใจจากการมีจิต

อาสาในการมีส่วนร่วมดำเนินการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่า ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เกิดการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการจากผู้ที่มีแนวคิดเดียวกันเป็นเครือข่ายอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ต่อไปในอนาคต

3) สร้างสมดุลทางสิ่งแวดล้อม ระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ เปลี่ยนมุมมองให้กับท้องถิ่นใน

การพัฒนาพื้นที่ โดยหันมาคำนึงถึงความเหมาะสม ศักยภาพ และบริบทเดิมของพื้นที่เป็นลำดับแรก ตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า ให้เป็นย่านชุมชนเก่าที่สมดุลและยั่งยืน สามารถคงอัตลักษณ์ ควบคุมการพัฒนาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของย่านชุมชนเก่า เกิดภูมิทัศน์ที่สวยงาม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สภาพแวดล้อมโดยรวมของพื้นที่และคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น  รวมถึงเกิดการกำหนดกติการ่วมกันในการควบคุมสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้สอดคล้องเหมาะสมกับเอกลักษณ์ของพื้นที่

4) เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม และบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค  ส่วนท้องถิ่น  ชุมชน และภาคีเครือข่ายที่มีความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์ย่านชุมนเก่า มีทักษะในการแสวงหาพันธมิตรร่วมดำเนินการ เกิดสายสัมพันธ์อันดีในการดำเนินงานร่วมกันต่อไปในอนาคต

5) ท้องถิ่นมีความเข้มแข้ง มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ชุมชนเข้มแข็งเกิดความตระหนัก

และหวงแหนในมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งเป้าหมายในการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน ให้เป็นย่านชุมชนเก่าที่มีชีวิต ไม่ใช่เป็นแบบพิพิธภัณฑ์ โดยมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นผลสืบเนื่องไม่ใช่เป็นเป้าหมายหลัก 

6) เป็นการยกระดับการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมของประเทศ ในมิติการสร้างเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม สร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่า ความสำคัญ การรับมือและการคงอยู่ของย่านชุมชนเก่า ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาที่นับจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อยกระดับ

คุณภาพชีวิตและเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิตร่วมกับสภาพแวดล้อม ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมได้อย่างยั่งยืน ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นมาตรฐานเตรียมความพร้อมสู่การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

          4.2 ประโยชน์จากการนำไปเป็นต้นแบบ โดยสามารถนำไปเป็นต้นแบบทั้งในด้านแนวคิด กรอบการดำเนินการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านชุมชนเก่า และการนำไปเป็นต้นแบบในพื้นที่อื่นๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน ทำให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานอนุรักษ์ ฟื้นฟูย่านชุมชนเก่า มีความก้าวหน้าและเห็นผลเป็นรูปธรรมและได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นมากขึ้น เนื่องจากมิได้ดำเนินการโดย สผ. แต่เน้นการดำเนินงานแบบหุ้นส่วน ซึ่งได้นำแนวคิดของท่าอุเทนโมเดลไปใช้ในการดำเนินงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำไปสู่การปฏิบัติ ตั้งแต่ริเริ่มโครงการจนจบโครงการ ในลักษณะหุ้นส่วน ระหว่างสำนักงานฯ จังหวัด ท้องถิ่น (ชุมชนในเขตย่านชุมชนเก่า/เทศบาล/อบต.) และร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ  ดังนี้

1)  พ.ศ 2560 การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านชุมชนเก่า  เน้นให้ใช้กลไกในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก

2) พ.ศ. 2561  การจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าแห่งชาติ เน้นให้ใช้กลไกในระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ร่วมกับการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยี และการประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับย่านชุมชนเก่า

3) พ.ศ. 2563 – 2564 การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าไปสู่การปฏิบัติ ใช้แนวคิด กรอบ และกระบวนการดำเนินงานเช่นเดียวกับท่าอุเทนโมเดล โดยคัดเลือกพื้นที่ย่านชุมชนเก่านำร่อง ทดลองใช้กลไกในระดับจังหวัดพิจารณาประกาศย่านชุมชนเก่าเป็นมรดกจังหวัดและมีการนำร่องโครงการต้นแบบในพื้นที่ โดยการเสนอโครงการจากชุมชน ภายใต้กรอบประเด็นที่สำนักงานฯ กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และใช้เทคโนโลยีดิจิตัล รวมถึงสื่อท้องถิ่น ต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน

          ซึ่งประโยชน์ที่สำคัญที่ได้รับ เป็นการนำแนวคิด วิธีการ ขั้นตอน ท่าอุเทนโมเดล ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม ภายใต้โครงสร้างและระบบการจัดการของท้องถิ่นเอง ในลักษณะที่เรียกว่า หุ้นส่วนจากชุมชนและท้องถิ่น โดยมุ่งหวังให้เกิดต้นแบบในการเรียนรู้ กระตุ้นย่านชุมชนเก่าอื่นๆ ให้เกิดทัศนคติเชิงบวกต่อการดำเนินงาน เพื่อขยายผลไปสู่การปฏิบัติในวงกว้าง ให้การพัฒนาในพื้นที่ย่านชุมชนเก่า คำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของย่านชุมชนเก่า ก่อให้แต่ละท้องถิ่นเกิดจิตสำนึก และความตระหนักในการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าให้กลับมามีคุณค่าและสามารถอำนวยประโยชน์สุขให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ซึ่งหากท้องถิ่นอื่นๆสามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกันในการรักษาสถานภาพความเป็นย่านชุมชนเก่าของตนให้อยู่ในระดับตามมาตรฐาน  ย่อมทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในภาพรวมของประเทศดียิ่งขึ้น 

 

    แสดงความคิดเห็น

    กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น