คู่มือการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับสำนัก/กอง/กลุ่มอิสระ


 

 บทนำ

ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ หมวด ๓ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา ๙ (๓) ได้กำหนดให้ส่วนราชการมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น และมาตรา ๑๒ กำหนดว่าเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ โดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ซึ่งการจัดทำคำรับรองปฏิบัติราชการและการรายงานผลการปฏิบัติราชการเป็นการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบไปด้วย การวัดผลความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการว่าเป็นไปตามนโยบาย แผนงาน เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของงานในภาพรวม และงานแต่ละด้านของหน่วยงาน ตลอดจนข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินผลการปฏิบัติราชการจะช่วยให้การบริหารงานของส่วนราชการประสบผลสำเร็จ

ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดสำนังานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีระบบและขั้นตอนการดำเนินการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงได้จัดทำคู่มือนี้ขึ้น  เพื่อประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบขั้นตอน รายละเอียดของการจัดทำคำรับรองและรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง อันจะส่งผลให้การจัดทำคำรับรองและรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมายต่อไป

วัตถุประสงค์

  • เพื่ออธิบายขั้นตอน รายละเอียดของการจัดทำคำรับรองและรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
  • เพื่อใหการจัดทําคํารับรองและรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคํารับรองการปฏิบัติราชการเปนไปตามหลักเกณฑและขั้นตอนที่ถูกตองตามที่สํานักงาน ก.พ.ร. กําหนด

 

 

๑. กำหนดร่างกรอบคำรับรองฯ ระดับสำนัก/กอง/กลุ่มอิสระ
๒. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดตามกรอบคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับสำนัก/กอง/กลุ่มอิสระ
๓. จัดทำเอกสารประกอบการลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
๔. การขออุทธรณ์เปลี่ยนแปลงตัวชี้วัด (รอบ ๖ , ๑๒ เดือน) (ถ้ามี)
๕. การติดตามผลความก้าวหน้าของการปฏิบัติราชการ (รอบ ๖, ๙ และ ๑๒ เดือน)

๑. กำหนดร่างกรอบคำรับรองฯ ระดับสำนัก/กอง/กลุ่มอิสระ

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อกำหนดกรอบตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

เทคนิคในการปฏิบัติ

๑. ศึกษา วิเคราะห์ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เพื่อกำหนด ร่าง/กรอบคำรับรองการปฏิบัติราชระดับ สำนัก/กอง

๒. จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สผ. เพื่อนำร่างกรอบคำรับรองฯ เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • แผนปฏิบัติราชการ สผ.

  • แผนยุทธศาสตร์ สผ.

  • การจัดทำวาระการประชุม

ระยะเวลา

๓๐ วัน

วิธีการติดตามผล

  • ร่างคำรับรองการปฏิบัติราชการแล้วเสร็จ

๒. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดตามกรอบคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับสำนัก/กอง/กลุ่มอิสระ

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อจัดทำรายละเอียด ตวัชี้วัด เกณฑ์การให้คะแนน

เทคนิคในการปฏิบัติ

๑. ประสาน สำนัก/กอง เสนอตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดตามภารกิจหลักของหน่วยงานระดับสำนัก/กอง และจัดส่งให้ กพร.สผ. พิจารณา

๒. นำเสนอร่างตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ ของสำนัก/กอง ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สผ. พิจารณา

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การจัดทำตัวชี้วัด

  • การถ่ายทอดตัวชี้วัด

ระยะเวลา

๓๐ วัน

วิธีการติดตามผล

  • หนังสือสำนัก/กอง/กลุ่มอิสระ การเสนอตัวชี้วัด

๓. จัดทำเอกสารประกอบการลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อแสดงให้เห็นถึงการถ่ายทอดตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ ไปสู่บุคคล

เทคนิคในการปฏิบัติ

จัดทำเอกสารประกอบการลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับสำนัก/กอง รวมทั้งประสานผู้บริหารลงนามในเอกสาร

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ

ระยะเวลา

๗ วัน

วิธีการติดตามผล

  • คำรับรองการปฏิบัติราชการลงนามแล้วเสร็จ

๔. การขออุทธรณ์เปลี่ยนแปลงตัวชี้วัด (รอบ ๖ , ๑๒ เดือน) (ถ้ามี)

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัด

เทคนิคในการปฏิบัติ

การขออุทธรณ์เปลี่ยนแปลงตัวชี้วัด (รอบ ๖, ๑๒ เดือน) เสนอ คกก.กพร.สผ. เพื่อพิจารณาหากเห็นชอบให้ใช้เกณฑ์ใหม่ในการประเมินผล หากไม่เห็นชอบให้ใช้เกณฑ์เดิมในการประเมินผล

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

ระยะเวลา

๗ วัน

วิธีการติดตามผล

  • มติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สผ.

๕. การติดตามผลความก้าวหน้าของการปฏิบัติราชการ (รอบ ๖, ๙ และ ๑๒ เดือน)

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

เทคนิคในการปฏิบัติ

ประสาน สำนัก/กอง รายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (รอบ ๖, ๙ และ ๑๒ เดือน) โดยรายงานผ่านแบบฟอร์มตามที่ กพร.สผ. กำหนด

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

ระยะเวลา

๑๕ วัน

วิธีการติดตามผล

  • รายงานผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

ข้อควรพึงระวัง

Comments are closed.