การจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561

สผ. โดยกองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ มีภารกิจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 13 (13) ในการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

สาระสำคัญขององค์ความรู้

การจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย ขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561

          1.1  การศึกษาและรวบรวมข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ในช่วง พ.ศ. 2560-2561 และข้อมูลแนวโน้ม 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข้อมูลจากเอกสารวิชาการ และจากหน่วยงานที่เป็นทางการ
มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันสมัย ประกอบด้วย

               1) ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย สถานการณ์และการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกและระดับภูมิภาค (อาเซียน)  และการดำเนินงานด้านอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               2) ข้อมูลสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขา รวม 11 สาขา ได้แก่ ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน ทรัพยากรแร่ พลังงาน ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพ สถานการณ์มลพิษ สิ่งแวดล้อมชุมชน สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย ข้อมูลสถานการณ์ ผลกระทบ และการดำเนินงาน

               3) ข้อมูลประกอบการจัดทำประเด็นสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ พ.ศ. 2561 รวม 3 ประเด็น ได้แก่
ป่าในเมือง ขยะทะเล และการบริหารจัดการแร่

          1.2  การวิเคราะห์และสรุปข้อมูล

               1) การวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย สถานการณ์และการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกและระดับภูมิภาค (อาเซียน)  และการดำเนินงานด้านอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

               2) การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขา รวม 11 สาขา โดยใช้กรอบแนวคิด DPSIR (Drivers-Pressures-States-Impacts-Responses Model) และให้ข้อเสนอแนะในการป้องกัน แก้ไข หรือบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการ

               3) การคัดเลือกประเด็นสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ พ.ศ. 2561 รวม 3 ประเด็น โดยพิจารณา
จากประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และ/หรือการดำรงชีวิตของประชาชน หรือประเด็น
ที่ประชาชนให้ความสนใจ และการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ
และการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               4) การสรุปสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม การคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการ

  1. การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

          2.1  การจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นต่อประเด็นสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ พ.ศ. 2561 จำนวน 3 ประเด็น 3 ครั้ง

          2.2    การจัดประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561 จำนวน 1 ครั้ง

  1. การเสนอรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561

          3.1  เสนอร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561 ต่อคณะอนุกรรมการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม

          3.2  เสนอร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561 ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

          3.3  เสนอรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561 ต่อคณะรัฐมนตรี

 

Link: http://www.onep.go.th/เอกสารเผยแพร่-รายงานสถ/

    แสดงความคิดเห็น

    กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น