การจัดทำแบบสอบถาม

     กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ ได้ดำเนินการจัดทำแบบสอบถามหรือแบบสำรวจความคิดเห็นต่อรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม และวารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการสำรวจมาใช้เพื่อการพัฒนารายงานสถานการณ์ฯ และวารสารฯ ให้ตรงตามความต้องการใช้ประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

สาระสำคัญขององค์ความรู้

   

การจัดทำแบบสอบถามหรือแบบสำรวจ จำเป็นต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการจัดทำและกลุ่มเป้าหมายผู้ตอบแบบสอบถาม อย่างไรก็ตามมีหลักการสำคัญที่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

  1. แบบสอบถามที่ดี ควรเป็นอย่างไร
  • ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์
  • มีการจัดเรียงคำถามที่ไม่วกวน เพื่อป้องกันการสับสนของผู้ตอบแบบสอบถาม
  • ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สั้น กระชับ
  • มีความชัดเจน
  • ตรงประเด็น
  • มีความแม่นยำ
  1. การจัดเรียงคำถาม ควรเริ่มจากเรื่องใด
  • แนะนำโครงการและวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าใจตรงกัน
  • คำถามข้อแรกควรเป็นคำถามที่ง่ายต่อการตอบ เพื่อไม่ให้ผู้ตอบแบบสอบถามไม่อยากตอบแล้ว
  • หัวข้อสำคัญควรกำหนดไว้ตอนต้นของแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการมากที่สุด ในกรณีที่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบไม่ครบทุกข้อคำถาม
  • การเรียงข้อถาม ควรสะดวก ลื่นไหล เป็นธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้สึกเสมือนเป็นการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการเล่าเรื่องสู่กันฟัง
  • พยายามใช้รูปแบบให้เหมือนกัน เช่น ถ้ากำหนดว่า มากที่สุด คือ 5 น้อยที่สุด คือ 0 เป็นต้น ควรใช้แบบเดียวกันทั้งฉบับ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการตอบ
  • แต่ละข้อความควรอยู่ในหน้าเดียวกัน (หลีกเลี่ยงการพลิกแบบสอบถาม) ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและลื่นไหลในการตอบแบบสอบถาม
  • ใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย
  • คำตอบที่จัดเป็นตัวเลข ควรมีความหมายเดียวกันทั้งแบบสอบถาม เช่น ถ้ากำหนดว่า มากที่สุด คือ 5 น้อยที่สุด คือ 0 เป็นต้น ควรใช้แบบเดียวกันทั้งฉบับ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการตอบ

    แสดงความคิดเห็น

    กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น