การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ และ 
ร่างแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 – 2564)

คู่มือการปฏิบัติงาน
การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน

 

 

บทนำ

         จากสถานการณ์ปัญหาของระบบบริหารจัดการที่ดินของประเทศไทย ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินกระจายอยู่ในส่วนราชการต่าง ๆ จำนวนมาก ทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ เครื่องมือที่มีอยู่มีข้อจำกัดต่อการบริหารจัดการที่ดินให้เกิดประสิทธิภาพและสร้างความเป็นธรรมในสังคม เนื่องจากมีผู้ไร้ที่ดินทำกินจำนวนมาก มีการบุกรุกที่ดินของรัฐ ปัญหาสิทธิในที่ดินที่ประชาชนได้รับมีความแตกต่างกัน การกระจุกตัวของการถือของที่ดิน ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนทิ้งร้างไม่ทำประโยชน์ ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

         ปัจจุบัน พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในการกำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางในการพัฒนาการใช้ที่ดินของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายการบริหารประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตลอดจนแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน สิทธิในทรัพย์สินของประชาชน การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และสังคม

         ดังนั้น เพื่อให้นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศสามารถขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางในการแปลงนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้เป็นแนวทางและขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

วัตถุประสงค์

            กำหนดแนวทางและขั้นตอนในการแปลงนโยบายก้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินไปสู่การปฏิบัติ

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

         1. ขั้นตอนการศึกษาทบทวนทางวิชาการ

              1.1  เหตุผลในการปฏิบัติ

                      การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินฯ ให้ความสำคัญกับข้อมูลทางวิชาการสถานการณ์ด้านที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

              1.2 เทคนิคในการปฏิบัติ

                      กำหนดประเด็นในการทบทวน ได้แก่

                      – สถานการณ์และปัญหาด้านที่ดินและทรัพยากรดิน

                      – ทิศทางในการพัฒนาประเทศ

                      – ความเชื่อมโยงของแผนระดับชาติและแผนในระดับต่าง ๆ

                      – กฎหมาย มติ ครม. ระเบียบ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

                      – โครงสร้างและภารกิจปัจจุบันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

              1.3 อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

                      – ยุทธศาสตร์ชาติ

                      – แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

                      – แผนการปฏิรูปประเทศ

                      – แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                      – แผนบริหารราชการแผ่นดิน

                      – นโยบายรัฐบาล

                      – นโยบายหรือยุทธศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                      – หน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน

               แหล่งข้อมูล

                      – เอกสารราชการ

                      – ข่าวสาร

                      – ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ

              1.4 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

                      30 วัน

              1.5 วิธีการติดตามผลภายหลัง

                      การตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล

         2. งานกระบวนการวิเคราะห์

              2.1 เหตุผลในการปฏิบัติ

                      เพื่อนำข้อมูลทางวิชาการมาวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาด้านที่ดินและทรัพยากรดิน และสรุปสถานการณ์ปัญหาและการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินที่ผ่านมา และทิศทางในอนาคต

              2.2 เทคนิคในการปฏิบัติ

                      – กำหนดประเด็นในการวิเคราะห์

                      – จัดทำข้อมูลประกอบการพิจารณา

                      – การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

              2.3 อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

                      – เครื่องมือแบบสอบถาม

                      – ระบบฐานข้อมูล

                      – SWOT Analysis

                      – TOWs Matrix

                      – GAP Analysis

                      – Balance Scorecard

                      – Strategic Map

                      – เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่

              2.4 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

                      30 วัน

         3. งานกระบวนการมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

              3.1 เหตุผลในการปฏิบัติ

                      เพื่อรับฟังประเด็นปัญหาสถานการณ์ที่ดินและทรัพยากรดิน และแนวทางในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหา

              3.2 เทคนิคในการปฏิบัติ

                      การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีส่วนร่วมให้ความเห็นในขั้นตอนของการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ

              3.3 อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

                      – Stakeholder Analysis เช่น การแบ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามกลุ่มภารกิจ

                      – การประสานงานและการเตรียมการประชุม

                      – การประชุมสัมมนา

                      – การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)

                      – การวิเคราะห์และสรุปผลการประชุม

              3.4 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

                      45  วัน

              3.5 วิธีการติดตามผลภายหลัง

                      ข้อคิดเห็นที่ได้จากผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ

          4. งานการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน

              4.1 เหตุผลในการปฏิบัติ

                      เพื่อยกร่างแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนระดับชาติ

              4.2 เทคนิคในการปฏิบัติ

                      กำหนดองค์ประกอบสำคัญของแผนการปฏิบัติการฯ

                      – กรอบระยะเวลา

                      – วิสัยทัศน์/พันธกิจ

                      – ประเด็นยุทธศาสตร์

                      – เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย/กลยุทธ์/แนวทาง/โครงการ/กิจกรรม/งบประมาณ/ผู้รับผิดชอบ

                      – การจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการ

                      – การติดตามประเมินผล

              4.3 อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

                      – นิยามที่สำคัญ

                      – กรอบและหลักการในการบริหารจัดการ

                      – การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)

                      – การจัดทำแผนงาน/โครงการเชิงบูรณาการ

                      – การจัดทำงบประมาณ

              4.4 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

                      60  วัน

              4.5 วิธีการติดตามผลภายหลัง

                      – ความสอดคล้องของแผนกับสถานการณ์ประเด็นสำคัญด้านที่ดินและทรัพยากรดิน

                      – ร่างแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน

          5. การเสนอแผน

              5.1 เหตุผลในการปฏิบัติ

                      เพื่อนำร่างแผนปฏิบัติการฯ เสนอต่อผู้บริหาร คณะกรรมการ/คณะรัฐมนตรี ตามแนวทางที่กำหน

              5.2 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

                      1 – 3 เดือน

              5.3 วิธีการติดตามผลภายหลัง

                      – แผนปฏิบัติการได้รับความเห็นชอบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ ร่าง แผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ พ.ศ. 2560 – 2564 และ ร่าง แผนปฏิบัติการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ระยะเร่งด่วน

    แสดงความคิดเห็น

    กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น