คู่มือการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ


. บทนำ สำนักงาน กพร. ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบราชการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ มีการปรับปรุง การทำงาน ยกระดับการบริหารจัดการ โดยนำเทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐ สำนักงาน กพร. ได้ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) โดยต้องการที่จะเห็นหน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นการนำองค์กรเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับประชาชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ส่งเสริมให้ข้าราชการพัฒนาตัวเอง มีความคิดริเริ่ม ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ และทำงานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญ วัตถุประสงค์

  • เพื่อนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาใช้เป็นเครื่องมือประเมินตนเอง และเป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารจัดการ เพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานขององค์กรไปสู่มาตรฐานสากล ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
  • เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีในดำเนินงานการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้ได้ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
๑. ศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์ของ สำนักงาน ก.พ.ร.
๒. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
๓. ประเมินองค์กร และ วิเคราะห์
๔. จัดทำแผนปรับปรุงองค์กร
๕. สื่อสารแผนการปรับปรุงองค์การ
๖. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

๑. ศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์ของ สำนักงาน ก.พ.ร.

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามกรอบการประเมินของเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการ

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • เข้าร่วมประชุมการชี้แจงของ สำนักงาน ก.พ.ร.

  • ศึกษา วิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • PDCA
  • เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

ระยะเวลา

7 วัน

วิธีการติดตามผล

กรอบแนวทางการดำเนินงานตามกรอบ PMQA

๒. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อสร้างกลไกและกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • การสรรหาผู้เหมาะสมในการเข้าร่วมเป็นคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน
  • จัดทำคำสั่งคณะทำงานฯ เสนอผู้บริหารอนุมัติ
  • ประชุมชี้แจงคณะทำงานฯ มอบหมายผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละหมวด

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  •  การประชุม

ระยะเวลา

๑๐ วัน

วิธีการติดตามผล

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

๓. ประเมินองค์กร และ วิเคราะห์

ประเมินองค์กร และ วิเคราะห์ ประเมินเพื่อหาจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุงองค์การ

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อวิเคราะห์หาจุดแข็ง โอกาสในการพัฒนาองค์กร

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • จัดทำร่างลักษณะสำคัญองค์การ
  • ประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์ PMQA ทั้ง ๗ หมวด โดยวิเคราะห์คำถามทุกข้อของแต่ละหมวด ว่าแต่ละคำถามนั้น มีการดำเนินการเป็นระบบ คือ ครบทั้ง ADLI หรือไม่
  • วิเคราะห์ ประเมิน หาจุดแข็งและโอกาสจากผลการประเมินตนเองของแต่ละหมวด 

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การตอบข้อคำถามตามแบบฟอร์มการประเมินตนเอง

ระยะเวลา

๑๕ วัน

วิธีการติดตามผล

  • ร่างลักษณะสำคัญองค์การแล้วเสร็จ ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหาร
  • การประเมินตนเองในแต่ละหมวดตามข้อคำถาม ครบถ้วนสมบูรณ์

๔. จัดทำแผนปรับปรุงองค์กร

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อจัดทำแผนการปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นมาตรฐาน

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • นำโอกาสในการปรับปรุง (OFI) จากการประเมินตนเอง มาจัดทำแผนการปรับปรุงของหน่วยงาน (แผนแม่บท และแผนปฏิบัติการ)

  • นำแผนปรับปรุงองค์การนำเสนอคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สผ. พิจารณา

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การจัดทำแผน นโยบาย และแผนปฏิบัติการ

ระยะเวลา

๒๐ วัน

วิธีการติดตามผล

  • ผู้บริหารเห็นชอบแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการ

๕. สื่อสารแผนการปรับปรุงองค์การ

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อเผยแพร่และมอบหมายห้สำนัก/กองที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผน

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • แจ้งสำนัก/กอง/กลุ่ม รับทราบและดำเนินการตามแผนแม่บทการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ และแผนปฏิบัติการ ด้านการพัฒนาองค์กรรายปี

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การจัดทำสื่อ เผยแพร่

ระยะเวลา

๓ วัน

วิธีการติดตามผล

  • แผนการปรับปรุงองค์การเผยแพร่ในระบบอินทราเน็ต

๖. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

เหตุผลในการปฏิบัติ

  • เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ

เทคนิคในการปฏิบัติ

  • แจ้งสำนัก/กอง/กลุ่ม จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ และแผนปฏิบัติการ ด้านการพัฒนาองค์กร แต่ละปี เป็นราย ๖ เดือน และ ๑๒ เดือน
  • ทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ และแผนปฏิบัติการ ด้านการพัฒนาองค์กร แต่ละปี

อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้

  • การติดตามประเมินผล

ระยะเวลา

๗ วัน

วิธีการติดตามผล

  • สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ

ข้อควรพึงระวัง

การพิจารณาให้ความเห็นเบื้องต้น จะต้องเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535  และคำสั่ง สผ. ที่ 122/2545 ลงวันที่ มีนาคม 2545 เรื่อง กำหนดระยะเวลาการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ โครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นจากคณะรัฐมนตรี 

Comments are closed.